ข้าวสรรพสี

พันธุ์ข้าวสรรพสี เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์พ่อ “ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว” กับ พันธุ์แม่ “ข้าวก่ำหอมนิล” ข้าวบางชนิดมีสีใบที่แตกต่างอย่างชัดเจนเช่น พันธุ์ข้าวเหนียวพื้นเมืองที่เรียกว่า ข้าวก่ำ มีใบสีม่วงอมเขียว รงควัตถุที่ทำให้ใบข้าวเกิดสีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คลอโรฟิวส์ ให้สีเขียว แคโรทีนอยด์ ให้สีเหลืองถึงแดงแอนโทไซยานิน ให้สีแดงม่วงไปจนถึงน้ำเงิน ข้าวสรรพสี ใบข้าวมีแอนโธไซยานินและคลอโรฟิลล์ที่ซับซ้อนจนเกิดเฉด สีแดง สีชมพู สีม่วง สีฟ้า สีส้ม สีเหลือง และ สีเขียวบนใบข้าวคล้ายสายรุ้ง เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ เส้นใยอาหาร ธาตุอาหารรอง และกรดอะมิโนที่ดีที่สุด ดังนั้นชาวนาไทยสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตและการท่องเที่ยวได้มากกว่า 100 เท่า

การปรับปรุงพันธุ์ได้ข้าวสรรพสี จำนวน 5 สายพันธุ์

1. สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01)
2. ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02)
3. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03)
4. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04)
5. ใบสีขาว (สรรพสี 05)

ประโยชน์ของ แอนโทไซยานิน (anthocyanin) ในข้าวสรรพสี

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดสภาวะ Oxidative stress ภายในเซลล์
  • กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเส้นเลือดแดง
  • ต่อต้านการสะสมไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ภาพถ่ายจาก: https://dna.kps.ku.ac.th/

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร. 034-355-192 E-mail: rdiavv@ku.ac.th

เรียบเรียงโดย
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th