นมแพะและผลิตภัณฑ์นมแพะไร้กลิ่น ตรา KU
ในปัจจุบันผู้บริโภคมีกระแสการตื่นตัวในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ และทราบว่าน้ํานมแพะมีคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์หลายประการ นมแพะเป็นนมที่สองรองจากนมแม่ตลาดน้ํานมแพะและผลิตภัณฑ์จากนมแพะ ได้รับความนิยมและยอมรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากได้รับกระแสความรู้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่งเสริมเรื่องของคุณภาพน้ํานมแพะที่ดีและไร้กลิ่น พร้อมได้เห็นรูปแบบของการพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ “นมแพะและผลิตภัณฑ์ นมแพะไร้กลิ่น ตรา KU” อย่างต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดผลิตภัณฑ์จากนมแพะทั่วไปมาเป็น “นมแพะไร้กลิ่น” เพื่อผู้บริโภคและเพิ่มทางเลือก ผลิตภัณฑ์จากนมแพะสร้างความหลากหลายของสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้เลือก ซึ่งสินค้าดังกล่าวนี้ยังไม่มีจําหน่ายตามท้องตลาดมากนัก ทําให้เกิดการขยายตัวด้านการตลาดของนมแพะให้เป็นที่รู้จักและมีความกว้างขวางมากยิ่งขึ้น การสร้างผลิตภัณฑ์นมแพะไร้กลิ่น ตรา KU มานั้นสามารถเป็นต้นแบบการทําธุรกิจเกษตรให้เกษตรกร ผู้ที่สนใจ ได้เห็นถึงการสร้างแบรนด์สินค้านมแพะการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับผู้บริโภคและเพิ่มความหลากหลายให้กับตลาดเพิ่มอาชีพทางธุรกิจเกษตร และจากองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาค้นคว้าที่ผ่านมา นมแพะสามารถนํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ที่มีงานทดลองออกมาเพื่อสนับสนุนวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ให้ถูกวิธีถูกหลักอนามัยและไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการการแปรรูปนมแพะสเตอริไรส์เพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษาและเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการบริโภคนมมากขึ้น การแปรรูปนมแพะเป็นนมแพะผงเพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษาในสภาวะที่ปริมาณนมแพะล้นตลาด เราสามารถนําน้ํานมเหล่านี้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อลดการสูญเสีย เช่น นมแพะผงสามารถนํามาละลายกลับเพื่อนําไปใช้เป็นนมน้ําได้ปกติในช่วงที่น้ํานมแพะขาดแคลน เป็นการต่อยอดจากวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างการแข่งขันให้เกิดขึ้นในตลาดด้วยคําว่า “คุณภาพ” โดยใช้แบรนด์สินค้า ตรา KU เป็นต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและเพื่อขยายช่องทางการตลาดแพะให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นและลบอคติในการบริโภคนมแพะ
ผลงานวิจัยโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศศิธร นาคทอง และคณะ
ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กําแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร.0-3435-1892
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศศิธร นาคทอง
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6