เรือไฟฟ้าต้นแบบ SS Green
คลองแสนแสบมีเรือโดยสารสาธารณะให้บริการมากกว่า 30 ปี ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 15,000-20,000 คนต่อวัน โดยเส้นทางเดินเรือจากชานเมืองเข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร เชื่อมโยงย่านธุรกิจ ช่วยย่นระยะเวลาเดินทางจากปัญหารถติดบนท้องถนน ที่ผ่านมาสภาพการเดินเรือในคลองแสนแสบประสบปัญหาต่างๆ เช่น เกิดคลื่นขนาดใหญ่ การใช้น้ำมันดีเซลก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งเกิดเสียงดังจากเครื่องยนต์ ทีมนักวิจัย่จึงได้มีการพัฒนาเรือพลังงานไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญาดังกล่าว
การให้บริการเรือโดยสารไฟฟ้าในคลองแสนแสบเปรียบเทียบกับเรือในปัจจุบันแล้ว ในทางสาธารณประโยชน์จะช่วยลดมลพิษทั้งทางอากาศ เสียงและลดความเสียหายของสองฝั่งคลองจากคลื่น ทั้งยังเป็นการปรับภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว ดังนั้นรัฐบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถนำเรือไฟฟ้ามาใช้ในคลองแสนแสบได้ต่อไป
ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ/สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ลดต้นทุนพลังงาน
- ลดการใช้น้ำมันดีเซล 29,400 ลิตร/ปี หรือ 793,800 บาท/ปี และ 15,876,000
- ลดการปล่อยคาร์บอน 79,380 kg CO2e คิดป็นมูลค่า 1,856 บาท
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตในการเดินทางที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัย
- ลดเสียงดังรบกวนที่เป็นอันตราย
- ลดเขม่าควันจากการเผาไหม้
- ลดความแรงของคลื่นที่ส่งกระทบกับตลิ่งสองฝั่งคลอง
ผลการศึกษาเบื้องต้นเในเชิงพาณิชย์
เส้นทางสายใน (ประตูน้ำ-สะพานผ่านฟ้า)
- ภายใต้การกำหนดอัตราค่าโดยสาร 9 บาท/เที่ยว ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี 7 เดือน
- ศักยภาพของเรือไฟฟ้าสายใน เส้นทางเดินเรือ 4 กิโลเมตร ระยะทาง 16,800 กิโลเมตรต่อปี สามารถทำรอบได้มากถึง 14 รอบต่อวัน จึงควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากเรือให้ได้เต็มศักยภาพมากที่สุด
เส้นทางสายนอก (วัดศรีบุญเรือง-ประตูน้ำ)
- เส้นทางเดินเรือ 14 กิโลเมตร 4 เที่ยวต่อวัน ระยะทาง 16,800 กิโลเมตรต่อปี หากกำหนดราคาที่ 19 บาทตลอดสายยังไม่คุ้มค่าในการลงทุน ควรกำหนดอัตราขั้นต่ำ 26 บาทขึ้นไป หรือเพิ่มรอบการให้บริการ