การพัฒนาการนำเถ้าลอยจากโรงฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในกระบวนการผลิตวัสดุเชิงประกอบไฟเบอร์ซีเมนต์
ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย มากถึง 40.2 ล้านตัน ด้วยเหตุนี้การนำขยะมาแปรเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงเพื่อนำไปใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจึงเข้ามาเป็นแนวทางใหม่ในการจัดการขยะ จะเกิดวัตถุพลอยได้ ได้แก่ เถ้าลอย นวัตกรรมนี้จึงเป็นการพัฒนาการนำเถ้าลอยจากโรงฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตวัสดุเชิงประกอบไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยจะนำมาใช้เพื่อทดแทนทรายวัตถุดิบจากธรรมชาติ
เพื่อนำเถ้าลอยที่เป็นผลพลอยได้จากการเผาขยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนทรายในการผลิตวัสดุเชิงประกอบไฟเบอร์ซีเมนต์ สามารถผลิตวัสดุเชิงประกอบไฟเบอร์ซีเมนต์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสมบัติทางกายภาพและเชิงกลตามมาตรฐาน
ในการผลิตวัสดุเชิงประกอบไฟเบอร์ซีเมนต์โดยใช้เถ้าลอยเป็นวัตถุดิบ ขึ้นรูปด้วยกระบวนการแฮทเช็ค และนำไปบ่มด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิและความดันสูงภายในออโตเคลฟ ทําโดยใช้เครื่องจักรในสายการผลิต ณ บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน) ดังนั้นนวัตกรรมนี้จึงได้รับความเชื่อมั่น และสามารถผลิตได้จริงในระดับอุตสาหกรรม จากนั้นทำการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C1185..พบว่ามีสมบัติเชิงกลโดยเฉพาะในเรื่องของความแข็งแกร่งและความสามารถต้านการแตกหักสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ลดลงจากเดิม ส่งผลให้การใช้งานและการติดตั้ง ทำได้ง่ายกว่าและรวดเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด
ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ วัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมใช้ทดแทนการใช้ไม้จริงในงานก่อสร้าง ซึ่งถูกผลิตขึ้นจากส่วนผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย และเส้นใยธรรมชาติ สามารถใช้ติดตั้งได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร เช่น แผ่นพื้น ผนัง ฝ้าและเพดาน วัสดุตกแต่ง และหลังคา เป็นต้น
ประโยชน์และคุณค่าของผลงาน
- ด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความแข็งแรงกว่าที่มีอยู่เดิมในท้องตลาด สามารถขยายฐานลูกค้าและช่วยเพิ่มยอดขายให้ได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางให้ภาครัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนำเถ้าลอยไปใช้ประโยชน์
- ด้านสังคม/สิ่งแวดล้อม ป้องกันการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่มาจากการกำจัดเถ้าลอย
เถ้าลอย (Fly ash) ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ชนิดแผ่นผนัง
ลักษณะการนำไปใช้งาน
ติดต่อขอข้อมุลเพิ่มเติมได้ที่
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.09-9691-2406
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
นางสาวทาวิณี เจรจา
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6