ชมพูไพรพืชชนิดใหม่ของโลก
Thunbergia impatienoides Suwanph. & S. Vajrodaya จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) ถูกค้นพบครั้งแรกจากป่าเต็งรัง จังหวัดกาญจนบุรี ชมพูไพรออกดอกตลอดทั้งปี สามารถพัฒนาให้เป็นไม้ประดับ ไม้กระถางเลื้อยขึ้นซุ้ม ปลูกเลี้ยงและเจริญได้ดี ค้นพบโดย ผศ.ดร.เฉลิมพล สุวรรณภักดี และ รศ.ดร.สรัญญา วัชโรทัย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลักษณะต้นชมพูไพร
- จัดอยู่ในสกุลเดียวกันกับรางจืด
- เป็นไม้เลื้อย ลําต้นค่อนข้างผอม
- ดอกสีชมพูอมม่วง กลางดอกมีสีขาวอมเหลือง
- ดอกตูมมีลักษณะคล้ายดอกกุหลาบแรกแย้ม
- ขนาดดอกบานเต็มที่ 3-5 เซนติเมตร
ชมพูไพรดอกจะทยอยบานให้ชื่นชมได้ตลอดปีจึงเหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นไม้กระถางเลื้อยขึ้นซุ้ม มีคุณสมบัติพิเศษในการพัฒนาให้เป็นไม้ประดับ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาการปลูกเลี้ยงในกรุงเทพมหานครพบว่าชมพูไพรสามารถเจริญเติบโตได้ดี