KU Smart Scale

น้ำหนักถูกใช้เป็นเครื่องบอกสุขภาวะของประชาชนโดยผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือน้อยจะมีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable Diseases (NCD) มากกว่าบุคคลที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนั้นน้ำหนักยังใช้เป็นเครื่องชี้วัดปริมาณการใช้พลังงาน เพื่อให้สามารถคำนวณปริมาณน้ำ และพลังงานในการบริโภค รวมถึงการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นผู้มีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์จะมีรูปร่างที่สมส่วนสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

เครื่องชั่งน้ำหนักคนโดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามสถานที่ใช้งาน คือ
1) เครื่องชั่งขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือน และ
2) เครื่องชั่งน้ำหนักแบบตู้หยอดเหรียญที่วางในที่สาธารณะ โดยทั่วไปเครื่องชั่งน้ำหนักทั้งสองประเภท ไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย จึงสามารถแจ้งน้ำหนักให้แก่ผู้ใช้เพียงค่าเดียวคือค่าน้ำหนัก ณ เวลาที่ชั่ง โดยไม่มีการบันทึกประวัติค่าน้ำหนักในอดีตของผู้ใช้งาน ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่สามารถจำน้ำหนักของตัวเองในอดีต ก็จะไม่สามารถรับรู้ความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักปัจจุบันเปรียบเทียบกับน้ำหนักที่ผ่านมาได้

อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพบนอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับเครื่องชั่งที่ใช้ในครัวเรือน ในรูปแบบของอุปกรณ์ส่วนบุคคลไม่ได้นำไปสู่การใช้ในพื้นที่สาธารณะที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากดั่งเช่นเครื่องชั่งน้ำหนักแบบตู้หยอดเหรียญ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่การใช้งานเพียงอย่างเดียวคือการบันทึกน้ำหนักเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถดึงดูดให้ประชาชนสนใจใช้และสร้างประโยชน์จากการใช้เท่าที่ควร ด้วยแนวคิดดังกล่าว เครื่องชั่งน้ำหนัก KU Smart Scale จึงถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของตู้คีออสซึ่งมีเครื่องชั่งน้ำหนักอยู่บริเวณฐานรับน้ำหนัก และอุปกรณ์แสดงผลแท็บเล็ตแบบสัมผัสอยู่ในส่วนบน โดยอุปกรณ์ทั้งสองสามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายได้กับโทรศัพท์มือถือและฐานข้อมูลซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถชั่งและดูประวัติข้อมูลน้ำหนักของตนได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชัน KU Smart Scale

ประโยชน์ การติดตามน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงช่วยให้ผู้ใช้สามารถตระหนักถึงเรื่องการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม

 

ติดต่อขอข้อมุลเพิ่มเติมได้ที่
ดร. จุมพล วรสายัณห์
ดร. จิตติ นิรมิตรานนท์
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5000

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ดร. จุมพล วรสายัณห์

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

🌟 แนะนำ/ติชม
https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6