โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Atomic Spectrophotometry กับการวิเคราะห์โลหะหนัก รุ่นที่ 3
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง Atomic Spectrophotometry กับการวิเคราะห์โลหะหนัก รุ่นที่ 3
ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2556
อะตอมมิคสเปกโตรโฟโตเมตรีเป็นเทคนิคการทำปริมาณวิเคราะห์ธาตุและโลหะหนักที่ได้รับความนิยมและใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะเป็นเทคนิคที่ให้ความถูกต้องและความไวในการทดสอบสูง สามารถวัดได้ถึงแม้ธาตุที่วิเคราะห์จะมีความเข้มข้นต่ำและใช้วิเคราะห์ธาตุต่างๆ ได้มากกว่า 60 ชนิดด้วยหลักการการดูดกลืน (Absorption) หรือการคายคลื่นแสง (Emission) ของอะตอมซึ่งขึ้นกับชนิดของธาตุ การวิเคราะห์หาปริมาณธาตุโดยเทคนิคอะตอมมิคสเปกโตรโฟโตเมตรีอาศัยหลักการวัดปริมาณแสงที่ธาตุดูดกลืนเข้าไปหรือคายออกมา เพื่อทำให้อะตอมอิสระเปลี่ยนสภาวะไป ปริมาณแสงที่ดูดกลืนเข้าไปหรือคายออกมาจะแปรตามความเข้มข้นของสาร การวิเคราะห์นี้สามารถประยุกต์ใช้ในทางเคมี เกษตร สิ่งแวดล้อม น้ำดีและน้ำเสีย ได้แก่วิเคราะห์หาโปแตสเซี่ยม (K) ในปุ๋ย แคลเซี่ยม (Ca) ในนม ตะกั่ว (Pb) ในน้ำปะปา ตลอดจนสารหนู (As) ปรอท (Hg) และอื่นๆ อีกมากมาย
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม :
บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้าราชการนอกสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้สนใจทั่วไปที่คาดว่าจะได้ใช้เครื่องมือนี้ในการวิเคราะห์ วิจัย
ระยะเวลาและสถานที่จัดการอบรม :
ระหว่างวันที่ 5 – 7 สิงหาคม 2556 รวมระยะเวลา 3 วัน
ณ งานเคมีและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ค่าลงทะเบียน :
3,200.- บาทต่อท่าน สามารถเบิกจ่ายจากต้นสังกัดได้ ตามระเบียบของทางราชการ
กรุณาชำระเงินค่าลงทะเบียน ภายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556
Download