สวพ.มก. ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย
การวิจัยเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นรากฐานทางวิชาการสำหรับการพัฒนางานวิจัยในระดับที่สูงขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาใช้ประโยชน์ เกิดผลกระทบในด้านต่างๆต่อผู้ใช้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพที่สามารถนำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ได้นั้นจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการงานวิจัยที่ดีทั้งด้านการบริหารทุนวิจัยและการประเมินผลงานวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานวิจัย โดยการประเมินจะเป็นกลไกในการสะท้อนถึงความคุ้มค่า ความสำเร็จที่เกิดจากการลงทุนวิจัยให้กับหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและหน่วยงานปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งบุคลากรที่ทำการวิจัย
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งเป็นงานวิจัยที่มีความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจและเชื่อมโยงกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ ผลประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยเป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและ ปฏิบัติควรให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตามการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยดังกล่าวยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก อีกทั้งศาสตร์และการใช้เครื่องมือยังอยู่ในขอบเขตจำกัดและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการวิจัยยังขาดความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานวิจัยและการบริหารงานวิจัย
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ฝ่ายประสานงานวิจัยและประเมินผล [บริหารงานวิจัยและประเมินผล] กำหนดจัดให้มีโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย ในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30-16.30 น. ขึ้นโดยมุ่งหวังในการสนับสนุนกระบวนการทางวิชาการและเสริมสร้าง องค์ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยให้กับอาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ภาคเช้า : บรรยายให้ความรู้แก่ผู้สนใจ ผ่านระบบออนไลน์ (Online)
ภาคบ่าย : ฝึกปฏิบัติ สำหรับผู้สมัครรับรางวัล ผ่านระบบออนไลน์ (Online)
(ให้สิทธิ์ลำดับแรกสำหรับผู้ที่สมัครขอรับการพิจารณารางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบซึ่งผู้เข้าร่วมในภาคบ่ายต้องเข้าร่วมรับฟังในภาคเช้าด้วย)
**ผู้ที่ลงชื่อในภาคบ่ายจะต้องนำโน้ตบุ๊คของตนเองมาด้วยเพื่อใช้ฝึกปฏิบัติในภาคบ่าย**
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรมและการสมัคร
- เป็นอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ขึ้นทะเบียนนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการวิจัย
- สมัครเข้าอบรม (Google Form) ได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ www.rdi.ku.ac.th ภาคเช้า (บรรยายให้ความรู้) รับสมัครผู้สนใจ 50 คน ภาคบ่าย (ฝึกปฏิบัติ) เฉพาะผู้มีตัวอย่างงานวิจัย 10 คนที่ผ่านอบรมในภาคเช้า (ผู้สมัครขอรับรางวัลฯ จะได้รับพิจารณาเป็นลำดับแรก) การพิจารณาตามลำการสมัครเข้าอบรม หากมีผู้สมัครเข้าอบรมมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ฝ่ายจัดอบรมขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา
- ผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากยืนยันเข้าอบรมแล้วไม่เข้าอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะขอเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากส่วนงานต้นสังกัดของผู้เข้าอบรม
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ตามลิงค์ที่ปรากฏด้านล่าง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายประสานงานวิจัยและประเมินผล (บริหารงานวิจัยและประเมินผล)
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-5795547 / 611457, 611796
E-mail: rdirdk@ku.ac.th
แนวทางการป้องกันไวรัส COVID-19 สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการอบรมฯ
- ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ติดสัญลักษณ์เมื่อผ่านการคัดกรอง
- กรณีผู้เข้าร่วมฯ มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะไม่อนุญาตให้เข้าร่วม
- ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาการอบรม หากไม่มีการสวมใส่จะไม่อนุญาตให้เข้าร่วม
- สามารถใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือได้ที่จุดลงทะเบียน
- นั่งอบรมโดยเว้นระยะห่าง ตามที่เจ้าหน้าที่ได้จัดไว้ให้
- เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร บริเวณพื้นที่ลงทะเบียน จุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม
- บริการอาหารว่าง เครื่องดื่ม และอาหารกลางวันในแบบกล่อง (box set)