การคุ้มครองพันธุ์พืช
การขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน
พันธุ์พืชขึ้นทะเบียน คือ พันธุ์พืชที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นหลักฐานแสดงการจดแจ้งชื่อพันธุ์ เปรียบเสมือนการทำบัตรประจำตัวพันธุ์พืช
ทั้งนี้ หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนฯ ไม่เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าของพันธุ์พืช หรือสิทธิคุ้มครองพันธุ์พืช และไม่เป็นการรับรองความดีเด่นของพันธุ์พืชแต่อย่างใด
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
- ขั้นตอนการออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน (ร.พ.2) ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แบบฟอร์มการยื่นคำขอ
- บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ download
- บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ (สำหรับวิทยาเขต) download
- แบบคำขอ_ร.พ.1 download
- ข้อมูลพันธุ์พืช download
- สำเนา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 download
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอน วิธีการ ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน (ร.พ.2)
1. ผู้ขอหนังสือรับรอง จัดทำเอกสาร
1) บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ
2) แบบคำขอ (ร.พ.1) (แบบคำขอ 1 ชุด/พืช 1 พันธุ์)
3) ข้อมูลพันธุ์พืช (print สี)
4) สำเนา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 (ลงนามรับรองทุกหน้า)
5) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ (ลงนามรับรอง)
หมายเหตุ แบบคำขอ (ร.พ.1) และ ข้อมูลพันธุ์พืช จัดทำจำนวน 1 ชุดต่อหนึ่งพันธุ์
♦ ส่งไฟล์ แบบคำขอ (ร.พ.1) และ ข้อมูลพันธุ์พืช ในรูปแบบ PDF และ Microsoft Word ไปยังอีเมล kuplantvp@gmail.com
♦ จัดส่งเอกสารไปยัง ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยและศูนย์สัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่อยู่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
2. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
– ประสานสำนักงานกฎหมาย เสนอขอหนังสือมอบอำนาจจากอธิการบดี
– รวบรวมเอกสารและนำส่งสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
3. สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
– เสนอคณะทำงานพิจารณาข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์
– ประกาศโฆษณาลงบน Website ของกรมวิชาการเกษตร และติดประกาศที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช เป็นเวลา 30 วัน
4. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
– ชำระค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนฯ (ร.พ.2)
5. สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
– ออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนฯ (ร.พ.2)
6. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
– จัดส่งหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนฯไปยังผู้ขอหนังสือรับรอง
การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม โดยสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย
นิยาม
“พืช” หมายความว่า สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชและให้หมายความรวมถึงเห็ดและสาหร่าย แต่ไม่รวมถึงจุลชีพอื่น
“พันธุ์พืช” หมายความว่า กลุ่มของพืชที่มีพันธุกรรมและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สม่ำเสมอคงตัว และแตกต่างจากกลุ่มอื่นในพืชชนิดเดียวกัน และให้หมายความรวมถึงต้นพืชที่จะขยายพันธุ์ให้ได้กลุ่มของพืชที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น
“ส่วนขยายพันธุ์” หมายความว่า พืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชที่สามารถทำให้เกิดพืชต้นใหม่ได้โดยวิธีปกติทางเกษตรกรรม
“นักปรับปรุงพันธุ์พืช” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำการปรับปรุงพันธุ์หรือพัฒนาพันธุ์จนได้พันธุ์พืชใหม่
คุณสมบัติของพืชพันธุ์ใหม่
1. มีความใหม่ (Novelty) คือ ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด ทั้งในหรือนอกราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ปีก่อนวันยื่นจดทะเบียน
2. มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน (Distinctness)
3. มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ (Uniformity)
4. มีความคงตจัวของลักษณะประจำพันธุ์ (Stability)
5. มีชื่อไม่ซ้ำกับชื่อพันธุ์ที่มีอยู่เดิมและเป็นไปตามระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการตั้งชื่อ (Denomination)
สิทธิที่ได้รับจากการจดทะเบียนคุ้มครอง
ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ขาย หรือจำหน่ายด้วยประการใด นำเข้า-ส่งออก หรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่
แบบฟอร์มการยื่นคำขอ
- บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ download
- แบบคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ (ค.พ.1 ค.พ. 1/1 ค.พ. 1/2 คพ. 1/3)
- แผนภูมิขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ download
- สำเนา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 download
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือรับรองการปฏิบัติงานของผู้ยื่นคำขอ
วิธีการยื่นคำขอ
- ผู้ยื่นคำขอจัดทำเอกสาร
1) บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ
2) คำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ (ค.พ.1 ค.พ. 1/1 ค.พ. 1/2 คพ. 1/3 print สี) ติดต่อขอแบบฟอร์มได้ที่ กลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร 0-2940-7214, 0-2579-0151-7 ต่อ 215
3) แผนภูมิขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์
4) สำเนา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 (ลงนามรับรองทุกหน้า)
5) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ (ลงนามรับรอง)
6) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานของผู้ยื่นคำขอ (ออกโดยต้นสังกัดของผู้ยื่น) - จัดส่งเอกสารไปยัง ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยและศูนย์สัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่อยู่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
- สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
– ประสานยื่นคำขอต่อพนักเจ้าหน้าที่ ณ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พร้อมชำระค่าธรรมเนียมคำขอ - สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
– ตรวจสอบคำขอ
– ตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช
– ประกาศโฆษณาเพื่อให้คัดค้าน
– วินิจฉัย
การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มาตรา 52 และมาตรา 53
-
มาตรา 52 (การใช้ประโยชน์เพื่อการค้า)
-
มาตรา 53 (ไม่มีประโยชน์ทางการค้า)
แบบฟอร์มการยื่นคำขอ
- บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ download
- แบบแจ้ง ตามมาตรา 53 download
- สำเนา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 download
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
- เอกสารรายละเอียดโครงการศึกษา ทดลอง หรือวิจัย พร้อมชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ
- แผนที่ สถานที่ทำการศึกษา ทดลอง หรือวิจัย ที่เก็บรวบรวมพันธุ์พืช
ขั้นตอน วิธีการ แจ้งการเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการศึกษา ทดลอง หรือวิจัยที่มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
1. ผู้แจ้ง จัดทำเอกสาร
1) บันทึกข้อความเสนอขอหนังสือมอบอำนาจ
2) แบบแจ้ง ตามมาตรา 53
3) สำเนา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 (ลงนามรับรองทุกหน้า)
4) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ (ลงนามรับรอง)
5) เอกสารรายละเอียดโครงการศึกษา ทดลอง หรือวิจัย พร้อมชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ
6) แผนที่ สถานที่ทำการศึกษา ทดลอง หรือวิจัย ที่เก็บรวบรวมพันธุ์พืช
7) จัดส่งเอกสารไปยัง ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยและศูนย์สัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่อยู่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
2. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
– ประสานสำนักงานกฎหมาย เสนอขอหนังสือมอบอำนาจจากอธิการบดี พร้อมเอกสารแสดงการเป็นนิติบุคคล
– รวบรวมเอกสารและนำส่งสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
3. สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
– ตรวจสอบแบบแจ้งการเก็บ จัดหาฯ และเอกสาร/หลักฐาน
– จัดทำแบบตอบรับการแจ้งเก็บ จัดหาฯ เสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงนาม
4. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
– จัดส่งแบบตอบรับการแจ้งเก็บ จัดหาฯ ที่ลงนามแล้วให้ผู้แจ้ง
แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการ “การคุ้มครองพันธุ์พืช”
โปรดให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการ “การคุ้มครองพันธุ์พืช” ของฝ่ายมาตรฐานการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง