มันสำปะหลังรับประทาน พันธุ์เกษตรศาสตร์ 1

มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เป็นพืชหัวที่มีปริมาณแป้งสูง และมีการนำมาบริโภคในหลายรูปแบบ รวมทั้งการนำมาผลิตเป็นแป้ง ทั้งในรูปของสตาร์ซ และฟลาว ประเทศไทยมีการผลิตแป้งฟลาวจากมันสำปะหลังเพื่อการค้า และใช้พันธุ์มันสำปะหลังชนิดขม (bitter type) หรือพันธุ์อุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งฟลาว ซึ่งยังมีปริมาณไซยาไนด์ในหัวสดสูง รสชาติและเนื้อสัมผัสยังอยู่ในขั้นตอนที่ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง “พันธุ์ เกษตรศาสตร์ 1” โดยสกล ฉายศรี (นักวิจัย) สถานีวิจัยลพบุรี คณะเกษตร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งฟลาวมันสำปะหลังคุณภาพสูง โดยมีปริมาณสารไซยาไนด์และอะคริลาไมด์ต่ำ สามารถรับประทานได้ ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 5.4 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ย 30.2 เปอร์เซ็นต์ เป็นมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณแป้งในหัวสดสูง ผลผลิตดี ไซยาไนด์ในหัวสดต่ำ สามารถปลูกในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั่วไป ทนต่อสภาวะฝนทิ้งช่วง และทนต่อสภาวะหัวเน่าเมื่อฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สอบถามได้ที่ สกล ฉายศรี (นักวิจัย) สถานีวิจัยลพบุรี คณะเกษตร มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ โทร.08-2246-0483

🌟แนะนำ/ติชม เกษตรศาสตร์นำไทยได้ที่.. https://forms.gle/pwCefd4uJcsvbqcZ9