ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 5731
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรศาสตร์ในการเพาะปลูก อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 5731 (Suwan 5731) เป็นพันธุ์ที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้รับการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวโพดไร่สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 63 (Ki 64) กับสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 48 (Ki 48) โดยมีลักษณะลำต้นข้าวโพดตั้งตรง มีความสูงต้นเฉลี่ย 218 เซนติเมตร ใบมีลักษณะยาวรีตั้งตรง (Erect) ความกว้างของใบรองฝักบนสุดมีขนาดปานกลาง เฉลี่ย 13.4 เซนติเมตร ความสูงฝักเฉลี่ย 122 เซนติเมตร ความกว้างฝักเฉลี่ย 4.7 เซนติเมตร ความยาวฝักเฉลี่ย 21.4 เซนติเมตร ความยาวติดเมล็ดเฉลี่ย 21.4 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดต่อแถวเฉลี่ย 40.8 เมล็ด และมีจำนวนแถวต่อฝักเฉลี่ย 14 แถว เมล็ดมีสีส้มเหลืองกึ่งหัวแข็ง มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูงเฉลี่ย 82 เปอร์เซ็นต์ และมีผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 1,586 กิโลเมตร/ไร่ (15 เปอร์เซ็นต์ความชื้น) มีอายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
ลักษณะเด่นของพันธุ์ลูกผสมสุวรรณ 5731
1. ผลผลิตเฉลี่ยที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 1,586 กก./ไร่
2. อายุออกดอกตัวผู้และตัวเมียพร้อมกัน 53-57 วัน
3. มีอายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
4. มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง ประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์
5. ต้านทานโรคราน้ำค้าง ในระดับปลานกลาง และต้านทานโรคทางใบอื่นๆได้ดี
6. เมล็ดมีขนาดใหญ่ เมล็ดแห้งมีน้ำหนักดี
7. เหมาะสำหรับปลูกในฤดูต้นฝน
8. สามารถนำไปใช้ปลูกทำข้าวโพดหมักได้ดี
9. เมล็ดเป็นสีส้มเหลืองและกึ่งหัวแข็ง
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ว่าที่ร้อยตรีโรจนพงศ์ ไชยสิทธิ์ (นักวิชาการเกษตร)
ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-1016-2351
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ว่าที่ร้อยตรีโรจนพงศ์ ไชยสิทธิ์
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย