สวพ.มก. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานวิจัย 17 มีนาคม 2564

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานวิจัย วันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมทับทิม ชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ โดยมีผลงานวิจัยดังนี้

1) ป-3.1(ด)7.21.62/ การเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์เร็วต้นพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยระบบเกษตรแม่นยำ หัวหน้าโครงการวิจัย: อ.วรรณสิริ วรรณรัตน์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร
2) ป-1.2(ด)206.61/ บทบาทของsmall molecules ในการยับยั้งระบบtype III secretionของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช Xanthomonas oryzae pv. oryzae และ Xanthomonas axonopodis pv. glycines หัวหน้าโครงการวิจัย: ผศ.ติยากร ฉัตรนภารัตน์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
3) ป-2.2(ด)230.61/ ศักยภาพการให้ผลผลิตและเสถียรภาพของข้าวฟ่างไม้กวาดสายพันธุ์แท้ หัวหน้าโครงการวิจัย: นางอำไพ พรหมณเรศ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร
4) ป-3.1(ด)218.61/ การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีลูกผสมโดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสี หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.พีรนุช จอมพุก ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์
5) ป-3.1(ช)7.62/ พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อม ผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย: ผศ.ประกิจ สมท่า ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน
-การทำแผนที่ยีนแบบละเอียดของยีนที่ควบคุมความต้านทานต่อดินด่างในถั่วเขียว และการพัฒนาสายพันธุ์ ต้านทานโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือก
-การค้นหาเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวที่ทนทานต่อดินเค็ม และการถ่ายทอดลักษณะของความทนทาน
-การค้นหาเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวที่ทนทานต่อสภาพอากาศร้อน และการถ่ายทอดลักษณะของความทนทาน
-การค้นหากลไกที่ทำให้ถั่วเขียวทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังและสนิปส์จากข้อมูลทรานสคริปโตมเพื่อการปรับปรุง พันธุ์แนวอณูวิธี
-การประเมินเชื้อพันธุกรรมทนน้ำท่วมและการสร้างประชากรลูกผสมเพื่อถ่ายทอดลักษณะทนน้ำท่วมสู่ถั่ว เขียวพันธุ์ “กำแพงแสน 2”
-การศึกษากลไกทางชีวเคมีของถั่วเขียวที่ทนทานต่อสภาวะเครียดจากความร้อนและความเค็มในถั่วเขียวพันธุ์ป่า (Vigna radiata var. sublobata)