ต้นแบบเครื่องกรองเชื้อโรคในอากาศในห้องพัก (Mobile HEPA Filter)
โรงพยาบาลภายในห้องพักผู้ป่วย อาจมีโอกาสที่จะมีเชื้อโรคลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งวิธีการกำจัดเชื้อเหล่านั้นมีความจำเป็นมาก ดังนั้นการใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดเชื้อภายในห้องมีความจำเป็นที่ต้องมี เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ไปดูแลคนไข้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับทำให้เป็นห้องความดันลบ (Negative pressure room) และความดันบวก (Positive pressure room) ได้ด้วย
ดังนั้นอาจารย์รศ.ดร. เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอจ.นพ. เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ วิสัญญีแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำเครื่องกรองอากาศที่มีพัดลมดูดอากาศภายในห้องผ่านชั้นกรองที่มี 3 ชั้น คือ Pre-filter, Medium filter และ HEPA filter ที่ใช้กรองเชื้อโรค และ เป่าอากาศออกเพื่อหมุนเวียนในห้อง ซึ่งจะทำให้ปริมาณเชื้อในห้องมีจำนวนลดลง นอกจากนี้ตัวกรองอากาศชุดนี้ยังจะออกแบบให้สามารถใช้ได้ทั้งการดูดอากาศออก เพื่อให้เป็นห้องความดันลบ และเป่าอากาศเข้าไปภายในห้องเพื่อสร้างให้ห้องเป็น ห้องความดันบวกได้ด้วย และสามารถใช้ได้ทั้งไฟ 220 โวลต์ และไฟกระแสตรงจากแบตเตอร์รี่ เพื่อให้นำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางในอนาคต นอกจากนี้หลังจากต้นแบบสำเร็จแล้วจะมีการออกแบบโดยสร้างจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบาที่ให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก
สำหรับประโยชน์ของเครื่องกรองเชื้อโรคในอากาศในห้องพัก ช่วยในการฟอกอากาศในห้องที่มีปริมาณเชื้อโรคมาก ให้มีจำนวนลดลง ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการสร้างเป็นห้องความดันลบ หรือ ความดันบวก ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองเชื้อโรคในอากาศในห้องพัก สามารถดูดอากาศภายในห้องผ่านกรองเชื้อโรค ด้วยจำนวนชั้นของแผ่นกรองจำนวน 3 ชั้น ตามมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อลดจำนวนเชื้อในอากาศให้ลดลง และลดโอกาสการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
ต้นแบบเครื่องกรองเชื้อโรคในอากาศในห้องพัก (Mobile HEPA Filter)
ติดต่อขอข้อมุลเพิ่มเติมได้ที่
รศ.ดร. เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์ อจ.นพ. เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ วิสัญญีแพทย์
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ภาควิชาวิสัญญีวิทยา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เลขานุการคณะกรรมการดูแลระบบแก๊สทางการแพทย์คณะแพทยศาสตร
โทร.08-1803-5716 คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
รศ.ดร. เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย