การพัฒนาศักยภาพทางพันธุกรรมโคนมไทยด้วยเทคโนโลยีจีโนม
ผลงานวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความต้องการเพิ่มความแม่นยำในการพิสูจน์พ่อพันธุ์โคนมเพื่อการผสมเทียม และความต้องการเร่งพัฒนาศักยภาพทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของโคนมที่ถูกเลี้ยงดูภายใต้สภาพแวดล้อมในเขตร้อนชื้น ซึ่ง อ.ส.ค. ได้ดำเนินการร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยฟลอริดา อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2536
ผลการดำเนินงานวิจัยดังกล่าวมีผลทำให้ความแม่นยำในการคัดเลือกพ่อพันธุ์โคนมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีโอกาสได้โคนมทดแทนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจตรงกับที่ตนคัดเลือกได้เร็วขึ้นร้อยละ 14.8 (7.4 เดือน) ของระยะห่างระหว่างรุ่น (50 เดือน) คิดเป็นต้นทุนลดลงมูลค่า 12,580 บาท/ตัว (ต้นทุนการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 1,700 บาทต่อเดือน) ได้โคนมทดแทนรุ่นใหม่มีความสามารถในการให้ผลผลิตเพิ่ม 31.54 กิโลกรัม/ตัว/ปี หรือมีรายได้เพิ่ม 577.18 บาท/ตัว/ปี (ราคาน้ำนม 18.5 บาท/กิโลกรัม) ระยะเวลาในการตัดสินใจคัดเลือก (พิสูจน์) พ่อพันธุ์โคนมเพื่อการผสมเทียม (ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง) จาก 73 เดือน เหลือเพียง 24 เดือน หรือเร็วกว่าเดิม 49 เดือน (ไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ลูกสาว) และลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู 131,369 บาท/พ่อพันธุ์ 1 ตัว (จาก 195,713 บาท/ตัว เหลือเพียง 64,344 บาท/ตัว) มูลค่าน้ำเชื้อพันธุ์โคนมแช่แข็งที่ผลิตได้จากพ่อพันธุ์ที่ผ่านการพิสูจน์แต่ละตัว (40,000 โด๊ส) เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาท/พ่อพันธุ์ 1 ตัว [วิธีการเดิม 3.8 ล้านบาท = (10,000 โด๊ส x 50 บาท) + (30,000 โด๊ส x 110 บาท) และ วิธีการใหม่ (จีโนม) 5.5 ล้านบาท = 40,000 โด๊ส x 110 บาท] สร้างโอกาสในการแข่งขันเชิงการค้า ผลกำไร ความมั่นคงทางอาหาร ความสงบสุข และภูมิรู้ให้กับสังคมไทยได้มากขึ้น นอกจากนี้สัตว์ทดแทนที่มีคุณสมบัติดีเหล่านั้นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่จัดการให้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงผลิตและปล่อยกรีนเฮาส์ก๊าซและของเสียน้อยลง
ผลการดำเนินงานวิจัยดังกล่าวมีผลทำให้ความแม่นยำในการคัดเลือกพ่อพันธุ์โคนมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีโอกาสได้โคนมทดแทนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจตรงกับที่ตนคัดเลือกได้เร็วขึ้นร้อยละ 14.8 (7.4 เดือน) ของระยะห่างระหว่างรุ่น (50 เดือน) คิดเป็นต้นทุนลดลงมูลค่า 12,580 บาท/ตัว (ต้นทุนการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 1,700 บาทต่อเดือน) ได้โคนมทดแทนรุ่นใหม่มีความสามารถในการให้ผลผลิตเพิ่ม 31.54 กิโลกรัม/ตัว/ปี หรือมีรายได้เพิ่ม 577.18 บาท/ตัว/ปี (ราคาน้ำนม 18.5 บาท/กิโลกรัม) ระยะเวลาในการตัดสินใจคัดเลือก (พิสูจน์) พ่อพันธุ์โคนมเพื่อการผสมเทียม (ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง) จาก 73 เดือน เหลือเพียง 24 เดือน หรือเร็วกว่าเดิม 49 เดือน (ไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ลูกสาว) และลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู 131,369 บาท/พ่อพันธุ์ 1 ตัว (จาก 195,713 บาท/ตัว เหลือเพียง 64,344 บาท/ตัว) มูลค่าน้ำเชื้อพันธุ์โคนมแช่แข็งที่ผลิตได้จากพ่อพันธุ์ที่ผ่านการพิสูจน์แต่ละตัว (40,000 โด๊ส) เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาท/พ่อพันธุ์ 1 ตัว [วิธีการเดิม 3.8 ล้านบาท = (10,000 โด๊ส x 50 บาท) + (30,000 โด๊ส x 110 บาท) และ วิธีการใหม่ (จีโนม) 5.5 ล้านบาท = 40,000 โด๊ส x 110 บาท] สร้างโอกาสในการแข่งขันเชิงการค้า ผลกำไร ความมั่นคงทางอาหาร ความสงบสุข และภูมิรู้ให้กับสังคมไทยได้มากขึ้น นอกจากนี้สัตว์ทดแทนที่มีคุณสมบัติดีเหล่านั้นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่จัดการให้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงผลิตและปล่อยกรีนเฮาส์ก๊าซและของเสียน้อยลง
ความสัมฤทธิ์ผลข้างต้นเพิ่มความน่าสนใจ ความเชื่อมั่น และความต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำเชื้อพันธุ์โคนมแช่แข็งและพันธุกรรมโคนม ทั้งจากภายในและต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกของ Dairy Asia (FAO, UN) ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบการปรับปรุงพันธุ์โคนมสมัยใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้และขอความร่วมมือทางเทคนิคระดับนานาชาติด้านการปรับปรุงพันธุ์โคนม ข้อมูลและความรู้ที่ได้ยังถูกนำไปต่อยอดในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะของเกษตรกร และใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เศรษฐกิจของรัฐบาลไทย