แอปพลิเคชันสำหรับการสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ (3Fs)

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ประสบผลสำเร็จประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ พันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร และการจัดการ  โดยเฉพาะอาหารเป็นต้นทุนหลักสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทั่วไปคิดเป็น 60%-80% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด  ดังนั้นถ้าผู้เลี้ยงสัตว์น้ำสามารถลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ก็จะทำให้มีกำไรสูงขึ้น  สำหรับแนวทางการลดค่าอาหารโดยส่วนใหญ่ คือการหาวัตถุดิบอื่นๆ มาทดแทนการใช้วัตถุดิบหลัก โดยเฉพาะปลาป่นซึ่งมีราคาแพง เพราะการจับจากธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง และการใช้ปลาป่นมาทำเป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์จะถูกกีดกันทางการค้าจากผู้ซื้อได้  ดังนั้นถ้าสามารถหาของเหลือใช้จากโรงงานผลิตอาหาร หรือวัตถุดิบราคาถูกในพื้นที่ มาทำเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารสัตว์น้ำได้จะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าจากของเหลือใช้ เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเหล่านี้ของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารอีกด้วย จึงเกิดสภาวะที่ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (win-win situation)  ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวในข้างต้นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชันในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแอปพลิเคชัน

1.เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่มีอยู่ตามแต่ละพื้นที่

2.เพื่อช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง และเป็นการเพิ่มมูลค่าจากของเหลือใช้ เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัสดุเหลือใช้ของโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

จุดเด่นของข้อมูลที่จะใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน 3Fs

1.สามารถสร้างสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่มีอยู่ตามแต่ละพื้นที่

2.ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง และเป็นการเพิ่มมูลค่าจากของเหลือใช้ เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น

3.สามรถคำนวณและสร้างสูตรอาหารในสภาพกึ่งเปียกกึ่งแห้งได้

4.สามารถคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารต่อกิโลกรัมได้

ซึ่งแอพพลิเคชันชุดนี้จัดทำขึ้นภายใต้การดำเนินงาน

ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถ

จำลองสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ โดยที่ง่ายต่อการปรับ

แต่งสูตรอาหารได้ตันทุนในการผลิตคุ้มค่าที่สุด

นอกจากนี้ยังมีส่วนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสัตว์

น้ำจืดไว้อีกด้วย

ติดต่อขอข้อมุลเพิ่มเติมได้ที่

รศ.ดร. วราห์ เทพาหุดี
รศ. เจษฏา อิสเหาะ และนายพุทธสงฆ์ สังข์วรรณ
ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 08-6699-5458

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
รศ.ดร. วราห์ เทพาหุดี

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย