ระบบ RFID เพื่อการจัดการสวนป่าสักเศรษฐกิจ
ไม้สักเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย เป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับนิยมนำมาแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ และเป็นวัสดุก่อสร้างอาคาร ด้วยความแข็งแรงและสีสันลวดลายที่สวยงาม ไม้สักจึงเป็นไม้ที่มีความสำคัญต่อคนไทยทั้งในแง่ของประโยชน์ใช้สอยและเพื่อปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ปัจจุบันนี้มูลค่าการซื้อขายไม้สักท่อนต่อปีอยู่ที่ 450 ล้านบาท หรือราว 48,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 2559) ซึ่งยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งสักเป็นไม้ยืนต้นที่ต้องอาศัยระยะเวลาที่ค่อนข้างนานในการบำรุงดูแล (30 ปี) กว่าที่จะสามารถนำไม้นั้นออกมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นสวนป่าสักจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการสวนป่าที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้เนื้อไม้ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด
การจัดการสวนป่าในปัจจุบันยังคงยึดหลักวิชาการและการบริหารระบบเอกสารแบบดั้งเดิม (paper based) ซึ่งการจัดการและตัดสินใจโดยอาศัยมนุษย์นั้นสามารถเกิดความผิดพลาดได้ง่ายและบ่อยครั้ง การที่จะสามารถตัดสินใจได้ดีจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจที่มากพอและข้อมูลจะต้องมีความทันสมัยเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้การตัดสินใจดำเนินการนั้นสามารถทำได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ “ถูกที่ ถูกเวลา” อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการจัดการสวนป่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วางแผนการดำเนินการได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการที่จะช่วยพัฒนาระบบการจัดการสวนป่า ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoTs) ที่จะช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนามอย่างอัตโนมัติ และนำข้อมูลนั้นมาทำการคัดกรอง รวบรวม และประมวลผล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนดำเนินงานต่างๆในงานสวนป่า จริงๆแล้วเทคโนโลยี RFID ได้เข้ามาในไทยเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่เพิ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นราว 2 ปีที่ผ่านมา นั่นเป็นเพราะ “ราคา” เป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดรั้งให้การใช้งานไม่แพร่หลาย จนกระทั่งธุรกิจได้เห็นประโยชน์จากการนำไปใช้ในการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ “Track and Trace” จึงทำให้ตลาดเติบโตขึ้น และทำให้ราคาของ RFID มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้สมาคมอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คาดว่าเทรนด์ของ RFID และ IoTs จะมีมูลค่ามหาศาลภายในปี 2563
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID และ IoTs จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบการจัดการสวนป่าสักให้สอดคล้องกับนโนบาย Thailand 4.0 ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน ลดปัญหาการตัดไม้สวมตอ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อประกอบการ
ติดต่อขอข้อมุลเพิ่มเติมได้ที่
ผศ.ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ
ผศ.ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ
ดร. พรเทพ เหมือนพงษ์
อ.กิติพงศ์ ตั้งกิจ
คณะวนศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 0-2579-0169
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ผศ.ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย