เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก

บ้านเรื่อน หรือสถานที่ที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดขยะมลและมลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะอินทรีย์ที่มีมากกว่า 50% ถูกทิ้งไปโดยไม่ก่อประโยชน์แล้วยังเป็นปัญหาแก่ภาครัฐขาดแคลนพื้นที่ฝังกลบ อันนำไปสู่ปัญหาสภาพแวดล้อม สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

ดังนั้นการนำประโยชน์กลับคืนจากขยะอินทรีย์เหล่านี้ด้วยการนำมาทำเป็นปุ๋ยจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก มี 2 ขนาด
  1. ขนาดถังหมัก 80 ลิตร สำหรับใช้งานในบ้านเรือน
  2. ขนาดถังหมัก 400 ลิตร สำหรับภาคการเกษตรและองค์กรหรือชุมชน
วิธีใช้งาน
  1. ผู้ใช้เติมอินทรีวัตถุลงในถังหมักได้ทุกวเลา
  2. เปิดสวิตช์ เพื่อกวนผสมให้คลุกเคล้าสลับการการเปิดสวิตช์ถอยหลัง 3-5 วินาที
  3. ควบคุมความชื้นของอินทรียวัตถุในถังหมักให้เหมาะสม ทดสอบโดยใช้มือกำและบีบเบาๆ หากรวมตัวเป็นก้อนไม่แตกตัว ไม่มีน้ำไหล แสดงว่าความชื้นเหมาะสม
  4. ปล่อยอินทรียวัตถุในถังหมัก 7 วัน โดยในทุกวันให้เปิดสวิตช์เพื่อนำอากาศเข้าสู่กองปุ๋ยวันละ 1 นาที
  5. เมื่อครบ 7 วัน จะย่อยสลายเป็นฮิวมัส มีสีน้ำตาลถึงดำ มีกลิ่นคล้ายดินให้นำออกจากถังและใส่เข่งทิ้งไว้
  6. รอจนปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์ จนไม่มีความร้อนในกองปุ๋ยจึงนำไปใช้ได้
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
  • ใช้ได้กับขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายทุกประเภท เช่น เศษผัก เศษอาหาร ใบไม้แห้ง วัชพืช ผักตบชวา จอก แหน ต้นข้าวโพด ต้นกล้วย ใบอ้อย หญ้าเนเปียร์ กระถิน ฯลฯ
  • ช่วยทุ่นแรงและลดระยะเวลาการทำปุ๋ยหมัก
  • ไม่มีกลิ่นเหม็น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
  • ปุ๋ยหมักประมาณร้อยละ 80 ของวัตถุดิบที่ใช้
  • วิธีการใช้งานงาน การดูแล และการบำรุงรักษาง่าย
  • ประหยัดพลังงาน ช่วยลดสภาวะโลกร้อน
การนำไปใช้ประโยชน์
  • นำไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน
  • จัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผา
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน กลุ่มเกษตรกร โรงเรียน องค์กรต่างๆ
  • มีการนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ 35 จังหวัดทั่วประเทศไทย เช่นในโรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล หมู่บ้าน ร้านอาหาร หอพัก บริษัท โรงพาบาล เรือนจำ กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมน รวมถึงในบ้านเรือน และสวนเกษตรของประชาชนทั่วไป

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ดร. ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ และคณะนักวิจัย
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรื่อนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร. 094-463-5614 E-mail: rdilnb@ku.ac.th

ผู้เรียบเรียง
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th