ตุ๊กแกสายพันธุ์ใหม่ (Gekko flavimaritus)

ลักษณะทั่วไป

เป็นสัตว์ในวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก (Family Gekkonidae) มีทั้งกลุ่มที่อาศัยในป่าประเภทต่างๆ เช่น เขาหินปูน รวมถึงบ้านเรือนของมนุษย์สำหรับตุ๊กแกพันธุ์นี้อยู่ในสกุล Gekko และเป็นชนิดที่ 8 ของตุ๊กแกในสกุล Gekko เป็นสกุลเดียวกับตุ๊กแกบ้านมีขนาดตัวปากลาง ใต้นิ้วจะมีแผ่น lamellae ที่ช่วยการยึดเกาะผนังหรือวัตถุที่อาศัย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gekkofl flavimaritus โดย specific epithet คือ flavimaritus มาจากภาษาละตินจากคำว่า flavus L. หมายถึงสีเหลือง yellow และ maritus L. หมายถึงผู้ชายที่แต่งงานหรือ สามี “married man or husband” เพื่อให้มีความหมายถึงตุ๊กแกชนิดใหม่ที่มีลักษณะเด่นคือ ตุ๊กแกเพศผู้ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองบนหลัง

แหล่งที่อยู่อาศัยพบในระบบนิเวศเขาหินปูนในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาและสภาพอากาศเฉพาะพื้นที่ (microclimate) และรูปแบบการกระจายของระบบนิเวศเขาหินปูนที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบนิเวศประเภทนี้ถูกแบ่งกั้นการแพร่กระจายคล้ายอยู่บนเกาะ (island)  โดยตุ๊กแกชนิดนี้จะพบบริเวณเขาหินปูนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาเพชรบูรณ์ ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และปัจจุบันยังไม่มีรายการแพร่กระจายที่อื่น

ความสำคัญของการค้นพบ

เพื่อได้ข้อมูลความหลากหลายชนิด การแพร่กระจายของตุ๊กแกในระบบนิเวศหินปูน สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มนี้ ซึ่งสามารถไปใช้ในการวางแผนการจัดการพื้นที่และชนิดพันธุ์สัตว์เฉพาะถิ่นเพื่อการจัดสถานภาพการอนุรักษ์ชนิดและประชากร

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ผศ.ดร.อัญชลี เอาผล
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5555 ต่อ 647835 E-mail: fsciacl@ku.ac.th

ผู้เรียบเรียง
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th