มันสำปะหลังพันธุ์รับประทาน “พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2”

ปัจจุบันปริมาณความต้องการมันสำปะหลังเพื่อใช้ภายในประเทศสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาหัวมันสำปะหลังกลับตกต่ำ ซึ่งสวนกลับความต้องการภายในประเทศ เห็นได้จากในแต่ละปีนี้การนำหัวมันสำปะหลัง และมันเส้นจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาจารย์สกล ฉายศรี สถานีวิจัยลพบุรี คณะเกษตร มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษามันสำปะหลังพันธุ์รับประทาน “พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2” ที่ใช้ส่วนของลำต้น และใบเป็นอาหารสัตว์ หัวนำมาบริโภค หรือเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง ในพันธุ์เดียว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง  ซึ่งมันสำปะหลังพันธุ์รับประทาน “พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2” ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 5.9 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ย24-26 เปอร์เซ็นต์ เป็นมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ใช้ผลิตเป็นอาหารคน และอาหารสัตว์ สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากส่วนของลำต้น ใบและหัว ส่วนของต้นอ่อน ใช้ผลิตอาหารสัตว์ได้ สำหรับหัวมันสดนำมาแปรรูปเป็นอาหารคน และส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภค ส่วนต้นแก่ใช้สำหรับปลูกเพื่อผลิตและขยายพันธุ์
การนำหัวมันสดมาใช้ประโยชน์ สามารถนำหัวมันสด พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 มาแปรรูปทำอาหารได้โดยตรง เช่นมันเชื่อม มันปิ้ง ย่าง มันทอด มันอบแห้ง ฯลฯ

 

การผลิตต้นพันธุ์

ต้นมันสำปะหลังที่เหมาะสมสำหรับทำพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 14 เดือน แปลงผลิตควรเป็นแปลงที่ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรค และแมลง ต้นพันธุ์ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว มีความยาวของต้นไม่ต่ำกว่า 1.2 เมตร ต้องเป็นต้นที่สด และใหม่ ไม่ควรตัดไว้นานเกิน 15 วัน

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์สกล ฉายศรี สถานีวิจัยลพบุรี คณะเกษตร มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
โทร.08-2246-0483

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
อาจารย์สกล ฉายศรี

ผลิตสื่อโดยฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย