ต้นแบบ “บ้านนกแอ่นกินรัง”

แอ่นกินรังหรืออีแอ่น (Edible–nest Swiftlet) มีลำตัวขนาดเล็ก มีลักษณะขนปกคลุมลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนเทา และมีพฤติกรรมการเคลื่อนที่ในที่มืดโดยการฟังเสียงสะท้อนกลับทำรังวางไข่อยู่ตามถ้ำบริเวณแนวชายฝั่งทะเล และเกาะแก่งที่ไม่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเลี้ยงนกแอ่นกินรังในอาคารส่วนบุคคลเริ่มมีจำนวนแพร่หลายในประเทศไทย ในบริเวณณที่ติดต่อหรือใกล้กับชายฝั่งทะเล  การเพาะเลี้ยงนกแอ่นกินรังของไทยเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายเพราะเป็นสัตว์สงวน ทำให้ผลผลิตถูกกดราคา ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจนจึงไม่สามารถส่งไปขายยังตลาดของจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลกมีมูลค่าทางเศรษฐกิจนับหมื่นล้านบาทเนื่องจากปัญหาสำคัญ 2 ประการหลัก

  • ประการแรกคือการพิจารณาแก้ไขกฎหมาย พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเพื่อให้สามารถค้ารังนกที่มาจากบ้านนกได้
  • ประการที่สองคือการกำหนดมาตรฐานการผลิตรังนกแอ่นบ้านให้เป็นไปตามมาตรฐานของทางการจีน และสร้างระบบตราจสอบให้ผู้บริโภคสามารถรู้แหล่งที่มาของแหล่งผลิตได้ชัดเจน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงมีการพัฒนา “คู่มือแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับบ้านนกแอ่นกินรัง” โดยในคู่มือฯ ได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรังตามข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับนกแอ่นกินรังภายในสถานที่ส่วนบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจสอบเพื่อรับรองสุขอนามัยประกอบการส่งออก รวมถึงการจัดการบ้านนกในอาคารส่วนบุคคลให้มีมาตรฐานในการปฏิบัติและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในอาคารบ้านนกทั่วไป อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มมูลค่าของรังนกของประเทศไทยในอนาคต

คู่มือประกอบด้วย

– ส่วนที่ 1 การดำเนินการตามข้อกำหนด

  • องค์ประกอบที่ 1 บ้านนก
  • องค์ประกอบที่ 2 น้ำ
  • องค์ประกอบที่ 3 การจัดการบ้านนก
  • องค์ประกอบที่ 4 สุขภาพสัตว์

– ส่วนที่ 2 การจำลองสถานการณ์ตรวจประเมินมาตรฐาน
– ส่วนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง ไปปฏิบัติจริงในบ้านนกแอ่นกินรังส่วนบุคคลของเกษตรกร/ผู้ประกอบการ

Download – คู่มือ

 

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ผศ.ดร. นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์
ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ บางเขน
E-mail: fforncp@ku.ac.th โทร.098-2455451

ผู้เรียบเรียง
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail : rdityt@ku.ac.th