เสวนาพิเศษ หัวข้อ “นวัตกรรม : ทำลายล้าง หรือ สร้างสรรค์” (Innovation : Disruptive or Creative?) ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58

                 นวัตกรรม เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย และไม่มีการหยุดนิ่ง ขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้ในทางที่ถูกหรือผิด  ซึ่งการผลิตนวัตกรรมขึ้นมาไม่มีใครคิดไม่ดี  เพราะก่อนที่จะมาเป็นนวัตกรรมนั้น  ต้องผ่านการสร้างสรรค์ และการพัฒนานวัตกรรมไปเรื่อยๆ  ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 หลัก ดังนี้  1. เทคโนโลยี  2. การตลาด  3. ผู้รับสาร  โดยยกตัวอย่าง  เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์  Hi 5 ซึ่งในยุคหนึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งหลายๆ คน เคยใช้แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มใช้น้อยลงทำให้ Hi 5 ไม่เป็นที่นิยมต่อ  ซึ่งก็จะเหมือนลักษณะของการตลาดที่ตรงกับ Demand และ Supply

                 ในอนาคต “นวัตกร” อาจเป็นหนึ่งอาชีพที่คนจะพูดถึง คือ ผู้มีหน้าที่มองการณ์ไกล มองว่าโลกกำลังจะไปทิศทางไหน เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ที่แม่นยำ และคาดการณ์เห็นผลค่อนข้างชัดเจน มีมุมมองที่คนอื่นมองไม่เห็น ซึ่งเหมือนกับผู้บริหารหลายๆ องค์กรที่มองเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น มองอนาคตที่ชัดเจน และสร้างสรรค์  สำหรับการมองในแง่ธุรกิจนวัตกรรมจะเกิดในการแก้โจทย์ อาทิ การถ่ายรูป การอัดเสียง แต่เดิมต้องถือไปด้วยหลายๆ อย่าง แต่ปัจจุบันมีเพียงสมาร์ทโฟน มือถือเครื่องเดียวสามารถทำได้ทุกอย่างที่ต้องการ และสะดวกในการใช้งาน แต่บางคนบางกลุ่มก็ยังยึดติด ไม่มีการปรับเปลี่ยนแบบหลายๆ บริษัท อาทิ หนังสือพิมพ์ โนเกีย ซึ่งคิดว่าธุรกิจจะไม่เป็นที่นิยมเหมือนดังเดิม  ซึ่งจริงๆ แล้วทุกอย่างต้องมีการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับยุคและสมัยนั้นๆ เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป คนก็ต้องเปลี่ยนตาม เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเรื่อยๆ ทำให้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถวนกลับมาได้ อย่างสมัยก่อน มี 2 G ก็ถือว่าเร็ว แต่ในปัจจุบันมี 4 G 5G ซึ่งมีความเร็วกว่าแต่เดิม จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุที่ทำให้นิสัยคนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่มีความอดทน รวมไปถึงวิธีการคิด และการดำรงชีวิตก็จะเปลี่ยนไป

                 ด้านสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันมีการแข่งกันกันสูงยังไม่รวมสื่อดิจิตอล และสื่อโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูป อินสตราแกรม ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการรับชมของผู้ชมมากขึ้น แต่ทว่าการผลิตสื่อเก่าและสื่อใหม่นั้น ยังมีความแตกต่างในเรื่องของการผลิตเพราะสื่อเก่า จะมีความซับซ้อนในการผลิตมากกว่ารวมทั้งกระบวนการขั้นตอนจะเป็นลักษณะ One way ซึ่งการผลิตแบบเก่าจะคำนึกถึงผู้รับสารต้องการอะไร และอะไรเหมาะสมจึงสื่อสารออกไป  แต่สำหรับสื่อใหม่ การผลิตจะเปลี่ยนไปโดยต้องการสื่ออะไร อยากได้อะไร ซึ่งความแตกต่างด้านวิธีคิดการเข้าถึงผู้บริโภค ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในการผลิตสื่อเก่ากับสื่อใหม่แต่ Content  ยังเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการผลิตรูปแบบรายการควรมี 4 ข้อ ดังนี้

  1. Content ซึ่งไม่ว่ารูปแบบรายการจะเป็นแบบใด Content เป็นสิ่งสำคัญ
  2. Channel จะเผยแพร่ทางช่องทางไหน ซึ่งแต่ละสื่อก็มีการสื่อสารที่แตกต่างกัน
  3. Partner การสร้างเครือข่าย
  4. Technology การนำเทคโนโลยีบางอย่างใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และภาพ

                 การผลิตสื่อโซเชียลมีเดียในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย และทำอะไรก็ได้ เพื่อให้ออกมาเร็ว โดยไม่ทันได้ตระหนักว่าข้อมูลพวกนี้มีข้อเท็จจริง หรือว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เพราะสามารถสร้างได้ง่าย คนเชื่อก็เชื่อง่าย มีการส่งต่ออย่างง่ายและกระจายไปได้อย่างรวดเร็วจนทำลายจรรยาบรรณของสื่อลง เมื่อมวลชนกลายเป็นสื่อ มวลชนไม่ต้องมีจรรยาบรรณก็ได้ เมื่อเทคโนโลยีถูกลงการผลิตสื่อทำได้เหมือนสื่อมวลชน ถ้าคนไม่ตระหนักตรงนี้ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกสร้างมาใคร โดยใคร ซึ่งมีการสร้างขึ้นมาเยอะไปหมดจึงอาจทำให้เป็นการทำลาย แต่สำหรับข้อดี ของเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารสามารถช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินรับชม และเข้าใจเนื้อหาของสื่อนั้นโดยการใช้ตัวหนังสือในเนื้อหาของสื่อนั้น

                 ช่วงท้ายการเสวนาได้ให้ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับการปรับตัวและการเรียนรู้ตลอดเวลา เราต้องรู้ให้ลึกในบางอย่าง และรู้ให้กว้างตลอดเวลาในหลายสิ่งหลายอย่าง เพื่อให้เราอยู่ได้ท่ามกลางเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ วัน

 

เสวนาพิเศษ หัวข้อ “นวัตกรรม : ทำลายล้าง หรือ สร้างสรรค์” (Innovation : Disruptive or Creative?)
โดย
1. คุณสุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท.ด้านยุทธศาสตร์สื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
2. คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย อสมท. และผู้ดำเนินรายการชัวร์ก่อนแชร์
3. คุณเจก รัตนตั้งตระกูล ผู้ประกาศข่าวรายการ TNN (ผู้ดำเนินการเสวนาพิเศษ)
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.15 – 12.15 น.
ณ ห้องบุหลันพิทักษ์พล ชั้น 3 อาคารอมรภูมิรัตน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

 

วนิดา รัตตมณี 
ผู้สรุปเสนาพิเศษ