ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “นวัตกรรมมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน” โดย อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

                 ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาประเทศ  โดยยึดตัวดิจิตอลเป็นแบบสำคัญภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งดิจิตอลอย่างแท้จริง ปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึง Internet ได้ง่าย โดยการใช้ Internet ซึ่งมีทั้งประโยชน์ และโทษ สำหรับแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจของสังคมได้มีการจัดภูมิทัศน์ดิจิทัลของไทยในระยะเวลา 20 ปี ได้กำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและเป้าหมายใน
4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 Digital Foundation คือประเทศไทยลงทุน และสร้างฐานรากในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัล

ระยะที่ 2 Digital Thailand I: Inclusion ทุกภาคส่วนของประเทศไทย มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและสังคม ดิจิทัลตามแนวทางประชารัฐ

ระยะที่ 3 Digital Thailand II: Full Transformation ประเทศไทยก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ที่ขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ

ระยะที่ 4 Global Digital Leadership ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางสังคมอย่างยั่งยืน

                 ประเทศไทยได้มีการจัด “โครงการเน็ตประชารัฐ” เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0 โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ให้กับพื้นที่ ที่ห่างไกลขาดแคลนการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้ว มีการจัดอบรม พร้อมคัดเลือกตัวแทนของหมุ่บ้านในการติดต่อหรือการแจ้งเหตุต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือแม้การเรียนออนไลน์ การรายงานด้านการเกษตร และการเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

                 ปัจจุบันสมรรถนะด้านดิจิทัลของประชาชนชาวไทยนั้น ทุกคนต้องรู้และต้องมีเพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมปลอดภัย สร้างสรรค์อิสระ และมีจริยธรรมในยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) อย่างการใช้ประโยชน์ 5 G โดยการออกแบบเพื่อรองรับการเชื่อมต่อการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต อาทิ การใช้รถยนต์ไร้คนขับ การใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งการใช้ร่วมกับรถ Ambulance ในการผ่าตัดได้จากระยะไกลโดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผ่านคอมพิวเตอร์

                 สำหรับการใช้ Coding Thailand Platform เพื่อเตรียมคนไทยสู่คตวรรษที่ 21  ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Big Data โดยนำข้อมูลของภาครัฐมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งความสำคัญของข้อมูล ต้องมีความปลอดภัย จึงได้มีโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud service : GDCC) โดยการใช้ Cloud และสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐใช้ Cloud เป็น Private Cloud เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล สำหรับการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลภาครัฐ Government Big Data institute คือ การสร้างแพลตฟอร์มด้านการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การพัฒนาระบบนำร่องการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูล การสร้างเครื่อข่ายระดับสากลและสร้างความตระหนักรู้ 

                 ซึ่งข้อดีของ Big Data นั้นมีทั้งดี และโทษอย่างการเข้าลิงค์ Internet ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือบริษัทเอกชนการเข้าระบบ Internet หากไม่มีการป้องกันพวกมัลแวร์ หรือ Spyware ต่างๆ ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายของข้อมูล หรือข่าวสารต่างๆ ที่มีการหลอกลวงเงินทาง Internet จึงมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน และแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และลดความไม่เข้าใจของข่าวสารตามสื่อต่างๆ ซึ่ง Thai Fake News ได้มีการจัดตั้งเพื่อป้องกันข่าวสารที่กระทบต่อทรัพย์สินประชาชนโดยภาพกว้าง อาทิ ปัญหาสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถูกต้อง เช่น ข่าวเกี่ยวกับ ไวรัสโคโรน่า ซึ่ง Thai Fake News ได้จัดช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์หลัก อาทิ

LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG)
Website : https://www.antifakenewscenter.com
Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand  
https://www.antifakenewscenter.com/
สำหรับการที่จะแก้ไข Fake News ได้นั้น คือ การให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ แต่ต้องพึงระวังภัยคุกคาม

ลิงก์ Live สด Facebook  https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/videos/610438126414428/UzpfSTU0Mjc0NjgxOTM5MzU0MDoxMDYzNzQ5MjMwNjI2NjI3/

 

ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “นวัตกรรมมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน”
(
Innovation in Humanities and Social Sciences for Sustainable Development)
โดย อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.10-10.00 น.
ณ ห้องบุหลันพิทักษ์พล ชั้น 3 อาคารอมรภูมิรัตน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

 

วนิดา  รัตตมณี
ผู้สรุปปาฐกถาพิเศษ