นวัตรกรรมชุดปลูกผักโซลาร์ไฮโดร

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell)

เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็น พลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวน้า เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลก นำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรง ปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ได้พัฒนาขึ้นมากจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% และมีสีแตกต่างกันไป เพื่อความสวยงาม เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง และสีทอง เป็นต้น

พลังงานจากแสงอาทิตย์กับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ใช้วัสดุปลูก ที่มีอีกชื่อที่เรียกว่า “Soilless culture” ซึ่งเป็นวิธีการปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยไม่ใช้ดินในการปลูก เช่น วัสดุปลูกที่เป็นอนินทรีย์สาร วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์สาร และวัสดุปลูกสังเคราะห์ โดยพืชสามารถเจริญเติบโตบนวัสดุปลูกจากการได้รับสารละลายธาตุอาหารที่มีน้ำผสมจากทางรากพืช

วัสดุปลูกที่เป็นอนินทรีย์สาร คือ
  1.  วัสดุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทราย กรวด หิน เกล็ด หินภูเขาไฟ หินซีลท์
  2. วัสดุที่ผ่านขบวนการโดยใช้ความร้อน เช่น ดินเผา เม็ดดินเผา ใยหินหรือร็อควูล เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลไลน์
  3. วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เศษอิฐจากการทำอิฐมอญ เศษดินเผาจากโรงงานเครื่องปั้นดินเผา
วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์สาร คือ
  1. วัสดุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฟางข้าวขุยและเส้นใยมะพร้าว แกลบและขี้เถ้า เปลือกถั่ว พีท
  2. วัสดุที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ชานอ้อย กากตะกอนจากโรงงานน้ำตาล วัสดุเหลือใช้จากโรงงานกระดาษ 

การปลูกพืชบนดินมีข้อเสียคือ ความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่มีความไม่แน่นอนแตกต่างกันไป ทำให้ธาตุอาหารที่จำเป็นอาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช และยังยุ่งยากต่อการปรับปรุง ส่งผลต่อผลผลิตที่ไม่แน่นอนและเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินพืชจะได้รับสารละลายธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีเพราะมีการปรับค่า EC และ pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อพืชอยู่ตลอดเวลา

ชุดปลูกผักโซลาร์ไฮโดร 

 

  • ใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ
  • พื้นที่ไม่มีไฟฟ้าก็สามารถใช้ได้
  • ประหยัดปุ๋ย เพราะเป็นระบบปุ๋ยหมุนเวียน
  • สามารถควบคุมการผลิตได้ง่าย
  • ลดค่าแรงงาน
  • มีวัสดุปลูกสามารถปลูกพืชได้หลายชนิด
  • เคลื่อนย้ายง่าย
ส่วนประกอบหลัก
  1. โครงสร้างเหล็ก
  2. แผงโซลาร์เซล
  3. ปั๊มสูบน้ำกระแสตรง
  4. กระถางพลาสติก
  5. ชุดวงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้า
  6. หลังคาพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต
  7. วงจรตั้งเวลาปิด-เปิด สารละลาย

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
นายศรันย์ หงษาครประเสริฐ
สถานีวิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 064-0654-197, 036-680-640
E-mail: Jeptagron@gmail.com

ผู้เรียบเรียง
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail : rdityt@ku.ac.th