วัคซีนต่อต้านเห็บโค (KU-VAC) นวัตกรรมในการควบคุมเห็บโค (R. microplus) ในโค และกระบือ ในประเทศไทย

วัคซีนต่อต้านเห็บโค (KU-VAC) เป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ในการควบคุมเห็บโคในประเทศไทยและเพื่อลดการใช้สารเคมีเนื่องจากการควบคุมเห็บโคตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจะใช้สารเคมีฆ่าเห็บ (acaricides) เป็นหลัก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพทั้งในคนและในสัตว์เนื่องจากทำให้เกิดสารตกค้างจากเคมีภัณฑ์ที่ใช้มีการตกค้างอยู่ในเนื้อ นม และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมไปถึงการปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีตกค้าง นอกจากนี้สารเคมีส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงและเมื่อใช้เป็นเวลานานจะพบปัญหาเห็บดื้อยา (resistance) ทำให้ต้องมีการนำเข้าสารเคมีที่มีฤทธิ์แรงกว่าซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทั้งคนและสัตว์ที่อยู่โดยรอบ วัคซีนต่อต้านเห็บโคจึงเป็นนวัตกรรมที่สำคัญเพื่อใช้ในการควบคุมเห็บโค ลดปัญหาการตกค้างของสารเคมี ลดการนำเข้าสารเคมีและลดต้นทุนการผลิตไม่มีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์และช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์สัตว์อินทรีย์ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

โครงการระยะที่ 1

ผลิตวัคซีนและทดสอบการใช้วัคซีนต่อต้านเห็บโค (KU-VAC) ในโคนม โคเนื้อ และกระบือในประเทศไทย

ภาพถ่ายและภาพ Scanning Electron ของโครงสร้างทางเดินอาหารส่วนกลาง (บน) และต่อมน้ำลาย (ล่าง) ของเห็บโค เพื่อสกัดและผลิตโปรตีน Bm95 (KU-VAC1) และ SERPINS (KU-VAC2) ตามลำดับ
ภาพแสดงขั้นตอนการผลิตวัคซีน (บนซ้าย) ภาพ SDS-PAGE ของโปรตีนก่อนและหลังการทำบริสุทธิ์ (บนชวา) ขั้นตอนการผสมโปรตีนและแอดจูแวนท์ (ล่างซ้าย) วัคซีนพร้อมบรรจุ (ล่างขวา) ขั้นตอนการบรรจุวัคซีน
โครงการระยะที่ 2

ยืนยันประสิทธิภาพของวัคซีนต่อต้านเห็บโค (KU-VAC) และการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ให้วัคซีน
แสดงการติดตั้งตาข่ายดักจับปริสิตภายนอก
ขั้นตอนการตรวจหาระดับของภูมิคุ้มกัน
โครงการระยะที่ 3

การทดสอบความคงตัวและทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอายุการผลิต มากกว่า 6 เดือน

ลักษณะทางกายภาพของวัคซีนหลังผ่านไป 6 เดือน

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. สถาพร จิตตปาลพงศ์
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 089-923-4563
E-mail: fvetspj@ku.ac.th

ผู้เรียบเรียง
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail : rdityt@ku.ac.th