ปลาของพ่อ สินทรัพย์ของแผ่นดิน: ความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิลที่เลี่ยงได้

ปลานิล (Orechromis niloticus) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจน้ำจืดที่มีความสำคัญที่สุดของประเทศ โดยเป็นปลาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมอบแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องจากเป็นปลาที่รสชาติดี เป็นที่นิยม ทั้งไทยและต่างประเทศ ปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะเลี้ยงปลานิลกลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสูงมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ผลของการพัฒนาระบบการเลี้ยงไปเป็นระบบการเลี้ยงแบบพัฒนาเชิงพาณิชย์ กอปรกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำให้ประสบปัญหาการตายอันเป็นผลมาจากโรคระบาดและการแปรปรวนของสภาพอากาศที่สร้างความเสียหายในทุกๆ ปี และส่งผลกระทบในภาคเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องของประเทศในทุกระดับ

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ในการจัดการความเสี่ยงและแนวทางการลดความเสี่ยงของการเลี้ยงปลานิลใน 3 ประเด็นหลัก คือ ความเสี่ยงจากระบบการเลี้ยงและการจัดการ  ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม  ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากระบบการตลาด โดยความรู้ที่เกิดขึ้นได้ถูกร้อยเรียงและถ่ายทอดไปสู่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลทั่วประเทศในรูปแบบสื่อต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือ “ปลานิล: ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงในการเลี้ยงและแนวทางที่เลี่ยงได้” และ หนังสือ “ปลานิล : ความเสี่ยงที่จะยอมรับหรือเตรียมรับ” รวมถึงการได้รับเชิญไปบรรยายจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถสร้างการเรียนรู้ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเลี้ยงปลานิลให้สามารถดำเนินไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ และ ผศ.ดร.อิสริยา วุฒิสินธุ์
ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
E-mail : ffispssp@ku.ac.th

ผู้เรียบเรียง : น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
Email : rdityt@ku.ac.th