ทุนวิจัยและนวัตกรรมฯ “การส่งเสริมอุตสาหรรมสำคัญของประเทศ (S-Curve)” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยได้มีการกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต เพื่อเป็นมาตรการระยะยาวที่จะกำหนดทิศทาง การปรับโครงสร้างด้านการผลิต ทั้งเกษตร-อุตสาหกรรม-บริการ ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน มีการสร้างงานคุณภาพ และมีการสนับสนุนเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างเป็นระบบ เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนให้เพิ่มขึ้น และให้ประเทศสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตบนฐานนวัตกรรมและยกระดับการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย สร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ และได้กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  2. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต
  3. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  4. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
  5. อุตสาหกรรมดิจิทัล
  6. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  7. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  8. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  9. อุตสาหกรรมความมั่นคง และเทคโนโลยีอวกาศ
  10. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative House

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน

ผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องเป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยมีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีสัญชาติไทย มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย และหรือมีหลักฐานการทำงานมั่นคง
  2. มีศักยภาพในการบริหารการวิจัยและ/หรือการบริหารจัดการ
  3. มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีในวิทยาการด้านใดด้านหนึ่งเกี่ยวกับการวิจัยในข้อเสนอการวิจัยที่ขอรับทุน มีศักยภาพ ความพร้อมด้านวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการวิจัย ที่จะดำเนินการวิจัยได้สำเร็จ
  4. สามารถดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ

งื่อนไขการสนับสนุนทุนวิจัย

  1. โจทย์วิจัยมีความเป็นไปได้ทางการตลาด มีความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี การผลิตและมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ
  2. โจทย์วิจัยมาจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
  3. มีภาคเอกชน หรือหน่วยงานร่วมดำเนินการวิจัยอย่างน้อย 1 ราย
  4. ภาคเอกชนต้องร่วมทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ( in cash และ in kind) โดยภาคเอกชนลงทุนเป็น in-cash อย่างน้อยร้อยละ 10 ของมูลค่าโครงการ
  5. อย่างน้อยร้อยละ 20 (In cash + In kind) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการทำงานอย่างจริงจัง และยืนยันความตั้งใจในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ Matching fund from private sector
  6. งานที่จะดำเนินการควรอยู่ใน Technology Readiness Level ขั้นต่ำที่ Level 3 หรือมีแผนการพัฒนาธุรกิจอย่างชัดเจน
  7. การบริหารจัดการโปรแกรม ข้อตกลงเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับภาคเอกชน เป็นไปตามระเบียบของ วช.

ระยะเวลารับข้อเสนอโครงการ

ตลอดทั้งปี

 ระยะเวลารับข้อเสนอโครงการ

ไม่จำกัดกรอบวงเงิน

การเสนอโครงการวิจัย ทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

ช่องทางที่ 1) หารือกับ หน่วยประสานงาน เพื่อบรรจุข้อเสนอโครงการวิจัยเข้ากรอบของหน่วยประสานงาน โดยจัดส่งเอกสารข้อเสนอเชิงหลักการไปยัง “ผู้ประสานงาน” ของฝ่ายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัยของท่าน (รายละเอียดระบุในคู่มือฯ และรายชื่อผู้ประสานงาน)

ช่องทางที่ 2) นำเข้าข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Paper) ผ่านระบบ NRIIS ที่เว็บไซต์ http://nriis.nrct.go.th/ แล้ว วช. จะดำเนินการร่วมกับหน่วยประสานงานต่อไป

ทั้งนี้ สามารถเสนอได้ตลอดทั้งปี สืบค้นข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://nrms.go.th/

เอกสารดาวน์โหลด