การจัดการระบบน้ำในบ่อพักแม่ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทย พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นปลาที่นิยมบริโภคเนื่องจากเนื้อมีคุณภาพและรสชาติดี

ผลผลิตปลาดุกเกือบทั้งหมดเป็นปลาดุกลูกผสม หรือบิ๊กอุย ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างแม่พันธุ์ปลาดุกอุยกับพ่อพันธุ์ปลาดุกยักษ์ เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความต้านทานโรค และเนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาดุกอุย

ภาพที่ 1 ปลาดุก

ผลงานวิจัยนี้เป็นของ ผศ.ดร.เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์ ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ในการเพาะพันธุ์ปลาดุกลูกผสมควรให้พักแม่ปลาภายหลังการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRH a ร่วมกับ domperidone ที่ความหนาแน่น 20 ตัวต่อตารางเมตร ในระบบน้ำแบบเปิด จะทำให้แม่ปลามีเปอร์เซ็นต์การวางไข่สูงสุด ให้อัตราฟักออกเป็นตัวสูงสุด มีอัตรรารอดของลูกปลาระยะถุงไข่แดงยุบสูงไม่แตกต่างจากชุดการทดลองอื่นของระบบน้ำแบบเปิด และแม่ปลามีอัตราการตายเฉลี่ยต่ำสุดหลังการรีดไข่เป็นเวลา 72 ชั่วโมง จึงเสนอให้เป็นแนวทางการปฏิบัติต่อแม่ปลาดุกอุยในการเพาะพันธุ์ปลาดุกลูกผสม และมีข้อเสนอแนะในการนำยาสลบมาประยุกต์ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาดุกลูกผสม เช่น น้ำมันกานพลู ว่าจะมีผลต่อความเครียดของแม่ปลาภายหลังการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ การสืบพันธุ์ และการตายของแม่ปลาหรือไม่อย่างไร เพื่อพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ภาพที่ 2 ปลาดุก

 

ที่มาข้อมูล : ผศ.ดร.เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์
ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

 เรียบเรียง/สื่อเผยแพร่ : วิทวัส ยุทธโกศา 
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. 
โทร. 02 561 1474 e-mail : witthawat.y@ku.th