ยีสต์สปีชีส์ใหม่จากหญ้าแฝก/สาวิตรี ลิ่มทอง

เรื่อง ยีสต์สปีชีส์ใหม่จากหญ้าแฝก

ยีสต์จำนวนมากที่กระจายตัวอยู่ตามแหล่งธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะในเขตร้อนอย่างเช่นประเทศไทยของเรานี้ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ แหล่งที่อยู่ของยีสต์ส่วนใหญ่มักต้องมีสารประกอบอินทรีย์ในปริมาณที่สูง รวมทั้งน้ำและความชื้นสูง

ศ.สาวิตรี ลิ่มทอง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัยความหลากหลายของยีสต์ในแหล่งธรรมชาติของประเทศไทยเริ่มเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการศึกษา แบสิดิโอมัยซีตัสยีสต์ (basidiomycetous yeast) พวกที่สร้าง ballistoconidium ด้วยความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ไทยและญี่ปุ่น และยังได้ค้นพบยีสต์สปีชีส์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีการรายงานมมาก่อนถึง 17 สปีชีส์ จากนั้นจึงมีการศึกษาความหลากหลายของทั้งแอสโคมัยซีตัสยีสต์ และแบสิดิโอมัยซีตัสยีสต์มากขึ้น และมีการรายงานการค้นยีสต์สปีชีส์ใหม่อย่างต่อเนื่อง จนในขณะนี้นักวิจัยไทยรวมทั้งผู้เสนอโครงการนี้ ได้ค้นพบและเสนอยีสต์สปีชีส์ใหม่ของโลกโดยการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากกว่า 80 สปีชีส์

เป็นการศึกษาสปีชีส์ใหม่ที่แยกได้จากใบหรือดินรอบรากหญ้าแฝก จากนั้นก็อธิบาย ตั้งชื่อ และเสนอตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ เพื่อศึกษาความสามารถของยีสต์ที่แยกจากใบและดินรอบรากหญ้าแฝกในการยับยั้งราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในข้าว ข้าวโพดและอ้อย ในจานเพาะเชื้อ จากนั้นเป็นการศึกษากลไกของยีสต์ในการยับยั้งราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในพืช ในจานเพาะเชื้อและหลอดทดลอง

ข้อมูลโดย
ศ.ดร.สาวิตรี ลิ่มทอง

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 

fscistl@ku.ac.th

0-2562-5555 ต่อ4017

เรียบเรียงโดย

วิทวัส ยุทธโกศา นักวิชาการโสตทัศนศึกษา สวพ.มก.

โทรศัพท์ 0-2561-1474