เครื่องผลิตก้อนเห็ดอัตโนมัติเกษตรสกลนคร1

ผลิตก้อนเห็ดได้อัตโนมัติ ตั้งแต่ผสม บรรจุ อัด เสร็จรวดเร็วได้ด้วย 1 แรง

 

ปัจจุบันมีเกษตรกรและผู้สนใจหันมาทำฟาร์มเพาะเห็ดเป็นจำนวนมาก  มีทั้งที่ทำเป็นอาชีพหลักและทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มจากการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ความต้องการก้อนเห็ดในท้องตลาดจึงมีมากขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดในการผลิตก้อนเห็ดให้เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่เกษตรกรที่ทำเกษตรผสมผสาน จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ดูแลผลผลิตให้ปุ๋ยให้น้ำ เวลาที่เหลืออีกส่วนจึงผลิตก้อนเห็ด จึงไม่สามารถผลิตก้อนเห็ดได้เพียงพอทันกับความต้องการ

ผศ.ดร.ทวี งามวิไลกร จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องผลิตก้อนเห็ดอัตโนมัติเกษตรสกลนคร 1 ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้แรงงานคนเพียงคนเดียว ในการควบคุมเครื่องจักรตั้งแต่การผสมส่วนผสมต่างๆจนถึงขั้นการกรอกวัสดุที่ผสมเสร็จแล้วลงถุง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม ช่วยประหยัดแรงงานและเวลาที่ใช้ในการผลิต โดยสามารถผลิตก้อนเห็ดได้รวดเร็วถึง 300 ก้อนต่อชั่วโมง ก้อนเห็ดที่ได้มีความสม่ำเสมอเนื่องจากเครื่องเป็นระบบอัตโนมัติสามารถปรับตั้งปริมาณน้ำหนักได้ตามต้องการ ปรับความแน่นของก้อนเห็ดให้เหมาะกับชนิดเห็ดที่จะเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการติดตามผลทดสอบการผลิตก้อนเห็ดของเกษตรกรที่ผลิตก้อนเห็ดเพื่อจำหน่ายพบว่าสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน

ส่วนประกอบเครื่องผลิตก้อนเห็ดอัตโนมัติเกษตรสกลนคร1

1.ถังผสม ทำหน้าที่ผสมเชื้ออาหารเห็ด

2.สายพานลำเลียง ทำหน้าที่ลำเลียงขี้เลื่อยที่ผสมดีแล้วไปใส่ถังพักของชุดอัด โดยสายพานลำเลียงจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ

3.ชุดอัด ประกอบด้วย ถังพัก เกลียวดัด แป้นรอง และชุดควบคุมไฟฟ้าและไมโครคอมพิวเตอร์ 4.กำลังการผลิต 300-400ก้อนต่อชั่วโมง

5.ใช้แรงงานเพียง 1 คน ในการควบคุมเครื่อง เพื่อผลิตก้อนเห็ดตั้งแต่ผสมจนถึงกรอกใส่ถุง

6.ใช้มอเตอร์ 220 โวลท์ 3 แรงม้า 1 ตัว มอเตอร์ 1.5 แรงม้า 1 ตัว และมอเตอร์ 0.25 แรงม้า 1 ตัว

7.ระยะเวลาคืนทุน 3 เดือน

ขอขอบคุณที่ท่านเข้ามาอ่านบทความวิจัยนี้ และขอความกรุณาสละเวลาตอบแบบสอบถามการให้บริการข้อมูล เพื่อการปรับปรุงต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง  

คลิกที่นี่เพื่อตอบแบบสอบถาม> https://goo.gl/forms/hcBXc1080pJmdUmF3

 

ที่มาข้อมูล :      นิทรรศการผลงานนวัตกรรม งานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2560

ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ทำกินตามคำพ่อสอน  27 ม.ค – 4 ก.พ. 2560

เจ้าของผลงาน  :           ผศ.ดร.ทวี  งามวิไลกร

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

เรื่อง/ สื่อเผยแพร่  :       ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

                             สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โทร. 02 561 1474

e-mail : rdiwan@ku.ac.th

 

ผศ.ดร.ทวี  งามวิไลกร