การใช้ทรีฮาโลสเป็นสารรักษาสภาพแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวโรติเฟอร์แบบเข้มข้น (1) การเพาะเลี้ยงโรติเฟอร์ในบ่อคอนกรีตขนาด3,000 ลิตร
(2) ลักษณะของบ่อโรติเฟอร์ที่พร้อมเก็บเกี่ยว
(3) การเก็บเกี่ยวโรติเฟอร์โดยใช้ถุงกรองดักตะกอน และใช้สวิงขนาดตา 75 ไมครอน เพื่อเก็บรวบรวมโรติเฟอร์
(4) ถังพลาสติกขนาด 5 ลิตร ส้าหรับเก็บรวบรวมโรติเฟอร์
(5) โรติเฟอร์แบบเข้มข้นที่ผ่านการกรองครั้งสุดท้าย
และ (6) ผลผลิตโรติเฟอร์แบบเข้มข้นทั้งหมดที่ได้จากการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตขนาด 3,000 ลิตร
แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ เป็นอาหารที่นิยมนำมาใช้ในการอนุบาลลูกสัตว์ทะเลวัยอ่อน เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อพัฒนาการ และอัตรารอดตายของลูกสัตว์น้ำ แต่การผลิตแพลงก์ตอนแบบปริมาณมากในระดับฟาร์มเพื่อให้เพียงพอที่จะน้ำไปใช้ในการอนุบาลลูกสัตว์น้ำของเกษตรกรนั้น มีข้อจ้ากัดทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ รวมทั้งเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูง และมักประสบกับปัญหาการเพาะขยายแพลงก์ตอนพืชไม่ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพภูมิอากาศแปรปรวน มีฝนตก แพลงก์ตอนจึงมีการปนเปื้อนสูง ทำให้มีปริมาณแพลงก์ตอนไม่เพียงพอความต้องการใช้เป็นอาหารอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ส่งผลกระทบถึงการพัฒนาการ และอัตรารอดตายของสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วย
การเก็บรักษาแพลงก์ตอนแบบปริมาณมากไว้ใช้ในช่วงที่แพลงก์ตอนขาดแคลนด้วยวิธีการที่เหมาะสมเช่น ด้วยการแช่เย็น หรือแช่แข็ง เพี่อรักษาให้มีคุณภาพดีตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพลงก์ตอนในบางช่วงเวลา และเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อความยั่งยืนให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย
ดังนั้น นายวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม และน.ส.วาสนา อากรรัตน์ นักวิจัยจากสถานีวิจัยประมงคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงทำการศึกษาและพัฒนาวิธีการเก็บรักษาแพลงก์ตอนให้มีคุณภาพดี เก็บรักษาได้นาน และมีการสูญเสียองค์ประกอบทางเคมีน้อยที่สุด ด้วยวิธีการใช้ทีฮาโลส เป็นสารรักษาสภาพเซลล์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาก่อนน้ำแพลงก็ตอนไปแช่เย็นหรือแช่แข็ง
สารรักษาสภาพเซลล์ หรือที่เรียกว่า antifreeze agent หรือ preservative agent หรือ cryoprotectant agent เป็นสารเคมีที่ป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อเซลล์เสียหาย แตก หรือฉีกขาด ในระหว่างการแช่แข็ง และการทำให้ละลาย เนื่องจากการแข็งตัวของน้ำภายในและนอกเซลล์ในระหว่างขบวนการแช่แข็ง ซึ่งสารรักษาสภาพเซลล์มีอยู่หลายชนิด เช่น กลีเซอรอล กลูโคส วิตามินซี (กรด แอสคอร์บิค) และทรีฮาโลส
ในการทดลองนี้ได้เลือกทรีฮาโลส มาใช้เป็นสารรักษาคุณภาพของเซลล์แพลงก์ตอน เนื่องจาก เป็นสารรักษาสภาพเซลล์ที่มีคุณสมบัติเป็น non-reducing sugar ซึ่งมีความเสถียรสูง เฉื่อยต่อการทำปฏิกิริยากับสารอื่น ไม่เป็นพิษกับสิ่งมีชีวิต และมีราคาไม่แพง เป็นที่นิยมใช้เป็นสารรักษาสภาพเซลล์ของโปรตีน และเยื่อหุ้มเซลล์จากการแช่เย็น การแช่แข็ง และการละลายในอุตสาหกรรมอาหาร
การศึกษาการใช้ทรีฮาโลสเป็นสารรักษาสภาพเซลล์ต่อการเก็บรักษาแพลงก์ตอนพืช 2 ชนิดคือ คีโตเซอรอลและคลอเรลลา และแพลงก์ตอนสัตว์ 1ชนิด คือ โรติเฟอร์ ศึกษาระดับความเข้มข้น และระยะเวลาที่เหมาะสมของการใช้ทรีฮาโลสในการเก็บรักษาแพลงก์ตอน ผลการศึกษาพบว่า การใช้ทรีฮาโลสเป็นสารรักษาสภาพเซลล์แพลงก์ตอนพืช 2 ชนิดคือ คีโตเซอรอลและคลอเรลลา โดยทำการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลาการเก็บรักษาต่างๆ คือ 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 สัปดาห์ พบว่า ทรีฮาโลสที่ระดับความเข้มข้น 0.5% 1% และ 2% โดยปริมาตร ไม่มีผลต่ออัตรารอดของเซลล์แพลงก์ตอนพืช โดยอัตรารอดของแพลงก์ตอนพืชทั้งสองจะลดลงเหลือ 0% ตั้งแต่ระยะเวลาการเก็บรักษาที่ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป ไม่มีผลต่อปริมาณแบคทีเรีย ปริมาณโปรตีน ปริมาณคาร์โบไฮเดรต และปริมาณไขมันของแพลงก์ตอนพืชทั้งสองชนิดนี้ แต่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณกรดไขมัน EPA และ DHA ของคีโตเซอรอล ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 2 สัปดาห์ขึ้นไป
การเจริญเติบโตของคลอเรลลา ที่เพาะเลี้ยงแบบปริมาณมากในถังขนาด 2,000 ลิตร โดยใช้สูตรอาหารแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสีเขียวน้ำเค็ม
การเจริญเติบโตเฉลี่ยของคลอเรลลา และช่วงระยะการเจริญเติบโตที่เหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวแบบเข้มข้น
ส่วนการใช้ทรีฮาโลสเป็นสารรักษาสภาพเซลล์แพลงก์ตอนสัตว์โรติเฟอร์ที่ระดับความเข้มข้น 1% และ 2% โดยปริมาตร สามารถใช้รักษาสภาพเซลล์ของโรติเฟอร์ที่เก็บรักษาด้วยวิธีการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 12 สัปดาห์ และได้ดีกว่าการใช้ทรีฮาโลสที่ระดับความเข้มข้น 0.5% โดยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณแบคทีเรีย ปริมาณโปรตีน ปริมาณคาร์โบไฮเดรต และปริมาณไขมัน รวมถึงปริมาณกรดไขมัน EPA และ DHA ของแพลงก์ตอนโรติเฟอร์
ที่มาข้อมูล : โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก. หัวหน้าโครงการ : นายวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม สถานีวิจัยคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
นายวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม |
เรื่อง : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
โทร. 02 561 1474
e-mail : rdiwan@ku.ac.th