ต้นแบบจักรยานเพื่อสิ่งแวดล้อม

การประดิษฐ์ต้นแบบจักรยานเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยการปลูกจิตสำนึกให้ตระหนัก  ถึงความร่วมมือการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดการนำจักรยานเก่าซึ่งเป็นซากจักรยานที่โดนน้ำท่วมเมือปี พ.ศ. 2554 ให้แปลงสภาพกลับมาใช้ใหม่ กลายเป็นต้นแบบจักรยานบำบัดน้ำเสียในคูโดยรอบสำนักหอสมุด และสามารถนำน้ำที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้อย่างถูกสุขภาวะ โดยการใช้ฟันเฟื่องล้อหน้า และล้อหลังควบคู่กัน ซึ่งปั้มที่ติดไว้ที่ตัวจักรยานนั้นเป็นประเภทปั้มโรตารี่ โดยใช้วิธีการดูดอากาศจากภายนอกเข้าสู่ท่อลม นำส่งไปถึงหัวจ่ายอากาศที่อยู่ใต้ผิวน้ำ ข้อดีของการใช้ปั้มประเภทโรตารี่ คือ สามารถอัดอากาศได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และอัตราการเติมอากาศขึ้นอยู่กับความเร็วของการปั่น ลูกเล่นที่ติดไว้กับจักรยานต้นแบบ คือได้มีการติดตั้งตัวปรับความหนืดของการปั่น เปรียบเสมือนการขี่จักรยานขึ้นเนินเขา ทำให้ผู้ปั่นได้ออกแรงเพิ่มมากขึ้น และสามารถปรับระดับความหนืดได้ โดยใช้การปรับจากระบบเบรคเดิมของจักรยาน อีกทั้งยังมีการติดตั้งตัววัดอัตราเครื่องวัดความเร็ว ระยะทาง และระยะเวลาในการออกกำลังกาย ข้อดีในการใช้วิธีการเติมอากาศใต้น้ำ คือจะไม่ทำให้เกิดการกระจายของละอองน้ำที่สกปรก รบกวนผู้ที่สัญจรไปมา ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ มณฑล ฐานุตตมวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนายปรัชญา จันทร์ศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942-8616 ต่อ 232

 

 

 

 ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์
วนิดา รัตตมณี
ธนิสร  ปานชื่น
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.