พลาสติกย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย

  การผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ กำลังอยู่ในกระแสตื่นตัวเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สังเคราะห์จากปิโตรเลียมซึ่งต้องใช้เวลานานนับร้อยปีในการย่อยสลาย

กล้วย : พืชเศรษฐกิจของไทย มีดีมากกว่าที่คิด

  ประเทศไทยมีการผลิตแป้งจากพืชมากมาย เช่น แป้งจากข้าวโพด แป้งจากข้าวเจ้า แป้งจากมันสำปะหลัง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า กล้วยก็เป็นพืชอีกชนิดที่สามารถนำมาผลิตเป็นแป้งได้ทั้งชนิดฟลาวร์(flour)และสตาร์(starch) และยังสามารถใช้เป็นวัสดุตั้งต้น หรือเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ชนิดเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช แต่ยังมีข้อด้อยในเรื่องสมบัติเชิงกลไม่ทนทาน ไม่ทนน้ำและความชื้น

5

 67

  รศ.ดร.รังสินี โสธรวิทย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมด้วย น.ส.ศิริลักษณ์ ทรงวิทย์  และน.ส.อังคณา อ.สุวรรณ จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนา พลาสติกย่อยสลายได้ที่ทำจากแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ และทำการปรับปรุงข้อด้อยข้างต้นด้วยแป้งกล้วยดัดแปรเส้นใยจากกาบกล้วยและเคลือบด้วยพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้ พอลิแลคติกเอซิด (polylactic acid, PLA) ขึ้นรูปด้วยวิธีการบีบอัด(compression molding) ได้เป็นแผ่นฟิล์มที่มีคุณสมบัติแข็งแรงคงทน สามารถป้องกันความชื้น และก๊าซออกซิเจนได้ดี สามารถขึ้นรูปได้ด้วยวิธีสารละลาย และที่สำคัญเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

1

2

พลาสติกจากแป้งกล้วย :วัสดุบรรจุภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  รศ.ดร.รังสินี โสธรวิทย์  และทีมวิจัย ประสบความสำเร็จในการผลิตฟิล์มพลาสติกย่อยสลายได้โดยใช้แป้งกล้วยน้ำว้าดิบเป็นวัตถุดิบหลัก รวมทั้งกรรมวิธีปรับปรุงสมบัติของผลิตภัณฑ์  ซึ่งได้นำผลงานวิจัยนี้ยื่นขอจดสิทธิบัตรแล้ว ผลผลิตจากงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนพลาสติกสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  สามารถช่วยลดปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติก   รวมทั้งมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะเป็นพลาสติกย่อยสลายตามธรรมชาติที่ผลิตจากกล้วยน้ำว้า พืชเศรษฐกิจมากคุณค่าและเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายภายในประเทศ

43

ขอขอบคุณที่ท่านเข้ามาอ่านบทความวิจัยนี้ และขอความกรุณาสละเวลาตอบแบบสอบถามการให้บริการข้อมูล เพื่อการปรับปรุงต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง  

คลิกที่นี่เพื่อตอบแบบสอบถาม> https://goo.gl/forms/hcBXc1080pJmdUmF3

 

รังสินี ที่มาข้อมูล : โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก.

และนิทรรศการผลงานนวัตกรรม เกษตรศาสตร์นำไทยสู้ภัยแล้ง

ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2559

หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร.รังสินี โสธรวิทย์

ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

เรื่อง : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โทร. 02 561 1474

e-mail : rdiwan@ku.ac.th

  รศ.ดร.รังสินี โสธรวิทย์