รายการวิทยุ เรื่อง ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2/อำนาจ สุวรรณฤทธิ์

บทวิทยุ รายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.”
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 4 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
เรื่อง ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2
ในเรื่องย่อย ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชและหลักการใช้ปุ๋ย
บทวิทยุโดย  วิทวัส ยุทธโกศา

………………………………………………………………………………………………………

-เพลงประจำรายการ-

สวัสดีครับ คุณผู้ฟังทุกท่านครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ซึ่งออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์ ทางสถานีวิทยุ มก. แห่งนี้ครับ รายการนี้ผลิตโดยฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. เป็นรายการที่นำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งในด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงต่างๆ  มานำเสนอให้คุณผู้ฟังได้ทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้ฟังในการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือกับอาชีพของตนเอง โดยมี กระผม……………………………….รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

สวัสดีครับคุณผู้ฟังทุกท่าน กระผม ………………………ผู้ดำเนินรายการ วันนี้กระผมมีผลงานวิจัย เป็นความรู้ในเรื่องของปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อมมาฝากครับ เป็นผลงานของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ท่านเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคปฐพีวิทยา คณะเกษตร มก. ประธานสภาข้าราชการ มก. รองอธิการบดี มก. และอุปนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย เกษียณอายุราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 หลังเกษียณอายุราชการจึงได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ และกับการวิจัยในครั้งนี้ ท่านจึงได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลผลการวิจัยในเรื่อง “ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม” มีเนื้อหาย่อยที่น่าสนใจ คือ ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชและหลักการใช้ปุ๋ย

มาต่อกันในเรื่อง “ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช” กันนะครับ นั้นหมายถึง ปัจจัยที่พืชต้องได้รับจึงจะสามารถเจริญเติบโตได้ หากพืชไม่ได้รับปัจจัยหนึ่งเลยพืชก็จะตาย ถึงแม้จะได้รับปัจจัยอื่นๆอย่างเพียงพอ และหากพืชได้รับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เพียงพอพืชก็จะเจริญเติบโตได้น้อยลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แบ่งออกได้ 2 ปัจจัยด้วยกันครับ นั่นคือ

  1. ปัจจัยทางพันธุ์กรรม นั่นคือ ความแตกต่างกันในด้านพันธุกรรมของพืช ทำให้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้แตกต่างกันและมีความสามารถทนต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อกันเจริญเติบโตของพืชได้มากน้อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าพืชชนิดเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์กันจะให้ผลผลิตที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะปลูกบนดินเดียวกันและมีสภาพแวดล้อมทุกอย่างเหมือนกันก็ตาม นอกจากนั้นลักษณะทางพันธุ์กรรมที่แตกต่างกันยังอาจทำให้พืชที่มีการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันเมื่อได้รับปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืชจนเพียงพอและมีความต้องการปัจจัยการเจริญเติบโตในปริมาณที่แตกต่างกัน พักกันก่อนสักครู่นะครับ

 -เพลงคั่นรายการ-

  1. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือ สภาวะและอิทธิพลต่างๆที่อยู่ภายนอกพืชและมีอทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช จะประกอบด้วย
  • อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง การหายใจ ความสามารถของผนังเซลล์ในการเลือกยอมให้สารบางอย่างผ่านไปได้ การดูดน้ำและธาตุอาหาร การคายน้ำ กิจกรรมของเอนไซม์ และการรวมตัวกันของโปรตีนนั่นเองครับ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะทำให้กระบวนการเหล่านี้ดำเนินไปด้วยดี และคุณผู้ฟังทราบไหมครับว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมของพืชอยู่ในช่วงไหน กระผมบอกให้ก็ได้ว่าอยู่ในช่วง 15-40 องศาเซลเซียส
  • น้ำ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ ซึ่งน้ำเป็นวัตถุดิบในการสร้างคาร์โบไฮเดรต เป็นส่วนประกอบของโปนโตพลาสซึม และเป็นพาหะนะในการเคลื่อนย้ายสารอาหารในพืช และเคลื่อนย้ายธาตุอาหารพืชนอกจากนั้นยังเป็นตัวทำให้เซลล์พืชเต่งตึงส่งผลให้เกิดการแบ่งแบ่งตัวและการยึดตัวของเซลล์ให้เป็นไปได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม น้ำอาจมีผลเสียโดยทางอ้อมของพืชเช่น หากมีน้ำในดินมากจนเกินไปจะทำมให้การถ่ายเทอากาศของดินน้อยลงจนทำให้รากของพืชขาดออกซิเจนนั่นเอง และแน่นอนทำให้รากพืชเจริญเติบโตและดูดน้ำ ธาตุอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้น้อยลงครับ
  • แสงสว่างก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นมากๆในการสังเคราะห์แสง ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงเป็นกระบวนการสนร้างน้ำตาลซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานและเป็นวัตถุดิบในการสนร้างสารอื่นๆในพืช ดังนั้น หากพืชไม่ได้รับแสงสว่างพืชก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่สุด

-เพลงคั่นรายการ-

  • ส่วนประกอบของอากาศรอบต้นพืช ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซที่จำเป็นมากๆสำหรับพืชนะครับ ก็เพราะว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสงของพืช และก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซที่พืชจะต้องใช้ในการหายใจนั่นเองครับ ดังนั้นนะครับ ในอากาศรอบต้นพืชก็จะต้องมีก๊าซทั้ง 2 นี้อย่างเพียงพอพืชจึงจะเจริญเติบโตได้เต็มที่ โดยเฉลี่ยในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดีจะมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ประมาณร้อยละ 03 โดยปริมาตร เป็นที่น่าสังเกตว่ามีผลวิจัยจำนวนมากที่แสดงว่าหากเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่มีความเข้มข้นระดับนี้ทำให้พืชเจริญเติบโตได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับส่วนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และกรดฟลูออริก เป็นก๊าซที่เป็นพิษหากมีอยู่ในอากาศมาก ในบางสภาพ อย่างเช่น บริเวณที่มียวดยวนอย่างหนาแน่น จะมีการปล่อยก๊าซเหล่านรี้ออกมาจากเครื่องยนต์ของยวดยานเป็นจำนวนมากจนทำให้พืชในบริเวณนั้นเจริญเติบโตได้น้อยลง
  • โครงสร้างดินและส่วนประกอบของอากาศในดิน มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืช ผลทางตรงได้แก่ผลต่อการงอกขึ้นเหนือผิวดินของต้นกล้าของพืชและต่อการไชชอนของรากพืชไปในดินเพื่อหาอาหารและน้ำ ดินที่แน่นทึบจะจับตัวเป็นแผ่นที่ผิวดินเมื่อผิวดินแห้งจะเป็นแผ่นแข็งทำให้ต้นกล้างอกขึ้นเหนือดินได้ยาก ชั้นดินที่แน่นทึบจะทำให้รากชอนไชผ่านไปได้ยากส่งผลให้การกระจายของพืชน้อยลงผลทางอ้อมของโครงสร้างของดินต่อการเจริญเติบโตได้แก่ผลต่อการถ่ายเทอากาศของดิน ดินที่มีโครงสร้างไม่ได้มีความแน่นทึบจะมีช่องอากาศน้อยและไม่ติดต่อกันซึ่งส่งผลให้ดินมีการถ่ายเทอากาศไม่ดี ขาดก๊าซออกซิเจนและมีการสะสมก๊าซและสารที่เป็นพิษต่อรากพืช

-เพลงคั่นรายการ

คุณผู้ฟังทราบไหมครับว่า ก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซที่รากพืชและสิ่งมีชีวิตในดินอื่นๆจะต้องใช้ในการหายใจ หากดินไม่มีก๊าซออกซิเจนรากพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆในดินที่ต้องการก๊าซชนิดนี้ก็จะตายไป หากดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอรากพืชก็จะเจริญเติบโตและทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลง นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตอื่นๆในดินก็จะเจริญเติบโตและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยลงด้วย

และก๊าซหลายชนิดด้วยกันที่มีพิษต่อพืช เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่าที่เราๆคุ้นหูกันนั่นเอง ต้นกำเนิดที่สำคัญของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่การหายใจของรากพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆในดินและการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุในดินของสภาพที่ยังมีก๊าซออกซิเจน ส่วนต้นกำเนิดของก๊าซไข่เน่าคือ กิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินภายใต้สภาพที่ดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอ

  • ปฏิกิริยาดิน นั่นคือความเป็นกรดเป็นด่างของดินผลของปฏิกิริยาดินต่อพืชที่สำคัญๆเป็นผลทางอ้อม คือจะมีผลเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่อพืชทั้งโดยตรงและโดยอ้อม มีผลต่อการเกิดสารที่เป็นพิษต่อพืชในดิน และมีผลต่อการระบาดของโรคพืชบางชนิด แล้วผลเหล่านี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกต่อหนึ่งด้วยครับ
  • ชีวปัจจัย คือสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อยู่รอบต้นพืชทั้งเหนือดินและในดิน สิ่งเหล่านี้บางชนิดทำให้พืชเติบโตมากขึ้นแต่บางชนิดทำให้พืชเติบโตน้อยลง ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ทำให้พืชเติบโตมากขึ้นได้แก่แบคทีเรีย ไรโซเบียมซึ่งสามารถเข้าไปอยู่ในรากพืชตระกูลถั่วแล้วเกิดการสร้างปมที่รากพืชซึ่งเป็นบริเวณที่แบคทีเรียไรโซเบียมเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศ ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ในรูปที่พืชใช้ได้และมีผลทำให้พืชเติบโตมากขึ้น ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่สามารถทำให้พืชเจริญเติบโตได้น้อยลงได้แก่จุลินทรีย์ที่มีให้เกิดโรคต่างๆแก่พืชและวัชพืช วัชพืชไม่เพียงแต่แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืช แต่ยังอาจจะบังแสงแดดและทำเป็นพืชเป็นโรคและมีแมลงรบกวนมากขึ้น และอีกอย่างหนึ่งได้แก่ใส้เดือนซึ่งไชชอนดินทำให้ดินโปร่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชมากขึ้นด้วยครับ
  • ธาตุอาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากๆก็จะมีธาตุอาหารที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนในพืช เช่น ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน ซึ่งจำเป็นสำหรัยบการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ก็ยังมีธาตุอื่นๆอีกตั้ง 14 ธาตุที่จำเป็นสำรับการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดและบางชนิด คุณผู้ฟังครับ หากพืชได้รับธาตุอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอจะไม่สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาจนครบวงจรชีวิต ไม่สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาถึงระยะออกดอก ผล เมล็ดได้ แต่อย่างไรก็ตามพืชต้องการธาตุอาหารเหล่านี้ในปริมาณไม่เท่ากัน นอกจากนั้นดินแต่ละแห่งยังมีความจำเป็นที่จะต้องใสส่ธาตุอาหารแต่ละชนิดเพิ่มเติมธาตุเพื่อการปลูกพืชไม่เท่ากัน เรามาฟังประเภทของธาตุอาหารกันนะครับว่ามีกี่ประเภท

-เพลงคั่นรายการ-

ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ พวก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก และพบได้ว่าดินจะขาดธาตุเหล่านี้บ่อยกว่าธาตุอื่นๆ จึงทำให้ต้องเพิ่มไปในดินเป็นรูปของการใส่ปุ๋ยนั้นเอง  ทั้งสามธาตุนี้เราจึงเรียกกันว่า ธาตุปุ๋ย ซึ่งอันที่จริงแล้วนะครับ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นธาตุที่พืชต้องการมากกว่าสามธาตุที่กล่าวมาข้างตันอีกด้วยซ้ำไป

ธาตุอาหารรอง ได้แก่จำพวก แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณที่รองลงมาจากธาตุอาหารหลัก และพบได้ว่าดินขาดไม่บ่อยเท่ากับธาตุอาหารรอง จึงทำให้มักจะมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ในดินให้แก่พืชรองจากธาตุอาหารหลัก

ธาตุอาหารเสริม ได้แก่พวกเหล็ก แมงกานิส โมลิบดินั่ม ทองแดง โบรอน สังกะสี นิคเกิลและคลอรีน ธาตุอาหารเหล่านี้เป็นธาตุที่พืชต้องการน้อยที่สุดครับ และยังมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชบางชนิดแต่ไม่จำเป็นกับพืชทุกชนิดที่พบกันบ่อลยๆได้แก่โคบอลท์ วานาเดียม โซเดียม และซิลิกอน

แล้วการจะดูว่าเราจะใช้ปุ๋ยเมื่อใด และใช้อะไร ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ปุ๋ยจึงควรศึกษาให้แน่ใจว่าปัจจัยที่เกี่ยวกับปุ๋ยมีอยู่ต่ำสุด เช่น ดินมีธาตุอาหารต่ำสุด เมื่อเทียบกับปัจจัยเพื่อการเจริญเติบโตของพืชปัจจัยอื่นๆ แต่ถ้าพืชได้รับปัจจัยอื่นบางปัจจัยน้อยกว่าธาตุอาหาร ก็ไม่ควรจะใส่ปุ๋ยเพราะกรณีพืชขาดน้ำอย่างรุนแรงนี้น้ำจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืชซึ่งทำให้การใส่ปุ๋ยไม่ได้ผล จึงอาจกล่าวเป็นหลักการได้ว่า ควรใช้ปุ๋ยเฉพาะเมื่อพืชขาดปัจจัยที่สามารถให้ในรูปปุ๋ยรุนแรงกว่าปัจจัยอื่นๆ และการใช้ปุ๋ยเท่าใด คือ เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะใช้ปุ๋ย สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ จะใช้เท่าไร เพราะการใส่ปุ๋ยน้อยเกินไปจะทำให้เสียโอกาสในการทำกำไรในการปลุกพืชให้มากที่สุด แต่หากใส่มากเกินไปจะทำให้ได้กำไรน้อยกว่าเมื่อในปริมาณที่พอดี

เมื่อใส่ปุ๋นในดินให้แก่พืชที่ได้รับปัจจัยชนิดเดียวกับที่ให้ในปุ๋ยไม่เพียงพอโดยปกติปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปุ๋ยที่ใส่หน่วยแรกๆจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปุ๋ยหน่วยถัดไป แต่เมื่อเพิ่มปุ๋ยไปถึงอัตราหนึ่งแล้วปุ๋ยหน่วยถัดไปจะทำให้ผลผลิตเพิ่มน้อยลงตามลำดับ จนในที่สุดการเพิ่มปุ๋ยไม่ได้ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

สุดท้ายนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป เกษตรกรและนักวิชาการ ให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับผลของปุ๋ยแต่ละชนิดในแง่ของการเกษตรและแง่ของสิ่งแวดล้อม เพื่อสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้องว่าควรจะใช้ปุ๋ยชนิดใดจึงจะเหมาะสมทั้งในแง่ต้นทุนการผลิตพืชและในแง่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครับ

คุณผู้ฟังครับ สัปดาห์หน้ากระผมจะนำเรื่องราวผลงานวิจัยอะไรดีๆ มาฝากคุณผู้ฟังอีก อย่าลืมติดตามรับฟังได้ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ในวันและเวลาเดียวกันนี้ หากคุณผู้ฟังมีข้อเสนอแนะนำติชมรายการหรือจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเขียนจดหมายมายังรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ตู้ ปณ. 1077 ปทฝ. เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10903 หรือโทรสอบถาม ได้ที่ 0-2561-1474 สำหรับวันนี้รายการจากแฟ้มงานวิจัย มก. ได้หมดเวลาลงแล้วครับ พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า สำหรับวันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ