การจัดการโรคและแมลงอย่างยั่งยืนเพื่อการผลิตข้าวโพดคุณภาพ/สุดฤดี ประเทืองวงศ์

ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย ผลิตผลจากข้าวโพดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย อุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านการผลิตข้าวโพดตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน คือความเสียหายจากการเกิดโรคระบาด โรคสำคัญที่พบได้ในข้าวโพด ได้แก่ โรคราน้ำค้าง  โรคไวรัสใบด่าง โรคใบขีดแบคทีเรีย จึงมีการเฝ้าระวังติดตาม และการพัฒนาวิธีการในการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการใช้สารเคมีในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้เชื้อนั้นเกิดความต้านทานต่อโรคได้โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ส่วนของโรคข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

รศ.ดร. สุดฤดี ประเทืองวงศ์ และคณะ พบว่าโรคของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมีการระบาดและทำความเสียหายมากขึ้นทั้งโรคใบขีดแบคทีเรีย โรคลำต้นเน่า และโรคเหี่ยว โดยโรคใบขีด เป็นโรคระบาดที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และยังพบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุดังกล่าวสามารถพักตัวในดินที่มีเศษซากพืชได้เป็นระยะเวลานาน หากมีการใช้พื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่องและใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรง

image001(ก) image002 (ข)image003(ค)

image004(ง) image005(จ) image006(ฉ) image007(ช)

ภาพ – โรคสำคัญของข้าวโพด ประกอบด้วย ราน้ำค้าง (ก) ใบไหม้แผลใหญ่ (ข) ใบไหม้แผลเล็ก (ค) ใบขีดแบคทีเรีย (ง) ไวรัสใบด่าง (จ) ลำต้นเน่าแบคทีเรีย (ฉ) และโรคเมล็ดบวม (ช)

 

แนวทางในการจัดการโรคของข้าวโพดจึงต้องเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านปรับปรุงพันธุ์ เขตกรรม และการอารักขาพืช ทั้งโรค แมลง และวัชพืช ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีผลต่อการพัฒนาวิธีการควบคุมโรคข้าวโพดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้สารเคมีในระบบการผลิต หรือใช้เท่าที่จำเป็น โดยผลงานวิจัยเด่นของโครงการคือการคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ส่งเสริมสุขภาพพืช ทั้งเชื้อรา (Trichoderma sp TC42) และแบคทีเรีย (Bacillus licheniformis P38) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่แยกจากแปลงปลูกข้าวโพด สามารถลดการระบาดและความรุนแรงของโรคได้ดีกว่าการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว ซึ่งจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถใช้ได้ตั้งแต่การคลุกเมล็ดก่อนปลูก และฉีดพ่นที่ต้นเป็นระยะ การใช้ชีวภัณฑ์ร่วมในระบบการผลิตข้าวโพดสามารถเพิ่มพูนปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าวโพดได้ดี และการควบคุมโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สนใจข้อมูลเพิ่ม ติดต่อได้ที่ รศ.ดร.สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร บางเขน e-mail agrsdp@ku.ac.th

 

 

image008

 

ที่มาข้อมูล :      โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก.

                                    รศ.ดร.สุดฤดี ประเทืองวงศ์

                                 ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร

                                   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

 

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย    : วิทวัส ยุทธโกศา ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.  rdiwwy@ku.ac.th Tel.0-2561-1474