การใช้มันสำปะหลังเปรียบเทียบกับการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารไก่เนื้อ

ทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะ

สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ อุทัย คันโธ ไพฑูรย์ มูลจิตร

ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม

วัตถุประสงค์ :

เพื่อทำการศึกษาผลการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารไก่เนื้อทั้งที่มีการเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะเปรียบเทียบกับการใช้ข้าวโพด

หลักการเหตุผล :

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามันสำปะหลังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารประเภทพลังงานทดแทนข้าวโพด และปลายข้าวได้ในอาหารสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งไก่เนื้อ การใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ยังให้ผลดีคือ สัตว์มีสุขภาพดีขึ้น การเจ็บป่วยน้อยลง และเกษตรกรผู้ใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์บางรายได้ทดลองไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในสูตรอาหารมันสำปะหลัง และพบว่าสัตว์เลี้ยงยังให้สมรรถภาพการผลิตตามปกติ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งทดสอบผลการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารไก่เนื้อทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะเปรียบเทียบกับการใช้ข้าวโพด เพื่อพิสูจน์ผลดีของการใช้มันสำปะหลังต่อสุขภาพไก่

วิธีการ :

ใช้ไก่ลูกผสมพันธ์ฮาเบอร์เอเคอร์ที่ผ่านระยะกกแล้วมีอายุ 10 วัน จำนวน 1,200 ตัว โดยแบ่งไก่ดังกล่าวออกเป็น 24 กลุ่ม ๆ ละ 50 ตัว

สุ่มไก่แต่ละกลุ่มให้กินอาหารทดลองสูตรต่าง ๆ ดังนี้ คือ

สูตรที่ 1 (T1) : อาหารสูตรข้าวโพดเสริมยาปฏิชีวนะ

สูตรที่ 2 (T2) : อาหารสูตรข้าวโพดไม่เสริมยาปฏิชีวนะ

สูตรที่ 3 (T3) : อาหารสูตรมันสำปะหลังเสริมยาปฏิชีวนะ

สูตรที่ 4 (T4) : อาหารสูตรมันสำปะหลังไม่เสริมยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะที่ใช้คือ ฟลาโรมัยซิน อัตราการใช้ 50 กรัมต่อตันอาหาร อาหารทุกสูตรคำนวณให้มีคุณค่าทางอาหารตามคำแนะนำโดย NRC (1988) อาหารสูตรข้าวโพด (อาหารสูตรที่ 1 และ 2) มีระดับใช้ข้าวโพดในอาหารไก่ระยะ 10 วัน – 3 สัปดาห์, 4 – 6 สัปดาห์ และ 7 สัปดาห์ เท่ากับ 48.88, 60.53 และ 67.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่อาหารสูตรมันสำปะหลัง (อาหารสูตรที่ 3 และ 4) มีระดับการใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารไก่ระยะดังกล่าว เท่ากับ 40.46, 50.59 และ 54.37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อาหารทดลองทุกสูตรจะทำการอัดเม็ด และให้ไก่กินอย่างเต็มที่

ทำการชั่งน้ำหนักลูกไก่ทั้งกลุ่มเมื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดการทดลอง บันทึกปริมาณอาหารที่ไก่กินแต่ละระยะ บันทึกจำนวนไก่เจ็บป่วยและตายในแต่ละกลุ่ม และเมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการสุ่มไก่เนื้อกลุ่มละ 10 ตัว เพื่อทำการฆ่าและศึกษาลักษณะซาก

ผลการทดลอง :

ผลการทดลองการใช้มันสำปะหลังเปรียบเทียบกับข้าวโพดทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะเป็นอาหารไก่เนื้อได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 และ 2 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า

ตารางที่ 1 ผลการศึกษาการใช้มันสำปะหลังเปรียบเทียบกับการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารไก่เนื้อทั้งเสริมและ

ไม่เสริมยาปฏิชีวนะในสูตรอาหาร

 

สูตรที่ 1

(T1)

สูตรที่ 2

(T2)

สูตรที่ 3

(T3)

สูตรที่ 4

(T4)

จำนวนไก่เริ่มทดลอง (ตัว)

198

198

198

198

จำนวนไก่ตาย (ตัว)

16

20

8

11

จำนวนไก่สิ้นสุดการทดลอง (ตัว)

182

178

190

187

น้ำหนักเริ่มทดลองรวม (กก.)

98.1

98.3

92.9

98.1

น้ำหนักเริ่มทดลองเฉลี่ย / ตัว (กก.)

0.495

0.496

0.496

0.495

น้ำหนักสิ้นสุดการทดลองรวม (กก.)

400.4

395.99

409.59

409.96

น้ำหนักสิ้นสุดการทดลองเฉลี่ย / ตัว (กก.)

2.20

2.22

2.10

2.19

น้ำหนักเพิ่มขึ้น

302.3

297.69

316.69

311.86

จำนวนวันที่ใช้ (วัน)

28

28

28

28

ปริมาณอาหารที่ใช้ (วัน)

563.53

573.01

612.62

624.19

อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย / ตัว / วัน (กรัม)

59.32

59.73

59.53

59.56

ประสิทธิภาพการใช้อาหาร

1.86

1.92กข

1.93กข

2.00

อัตราการตาย (%)

8.79กข

11.24

4.21

5.88กข

ก-ข ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในแถวนอนเดียวกันมีอักษรต่างกันแสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(p<0.05)

หมายเหตุ

สูตรที่ 1 (T1) : อาหารสูตรข้าวโพดเสริมยาปฏิชีวนะ

สูตรที่ 2 (T2) : อาหารสูตรข้าวโพดไม่เสริมยาปฏิชีวนะ

สูตรที่ 3 (T3) : อาหารสูตรมันสำปะหลังเสริมยาปฏิชีวนะ

สูตรที่ 4 (T4) : อาหารสูตรมันสำปะหลังไม่เสริมยาปฏิชีวนะ

ตารางที่ 2 ผลการใช้อาหารสูตรมันสำปะหลังและสูตรข้าวโพดทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะต่อ

คุณลักษณะซากของไก่เนื้อ

% ลักษณะคุณภาพซาก

สูตรที่ 1

T1

สูตรที่ 2

T2

สูตรที่ 3

T3

สูตรที่ 4

T4

น้ำหนักมีชีวิต (กก.)

2.33

2.3

2.13

2.125

% ซาก

81.42

82.16

81.03

80.06

% เนื้อหน้าอก

19.59

18.24

19.6

18.27

% เนื้อสะโพก

13.85

13.55

14.14

14.01

% น่อง

11.58

11.6

11.92

12.04

ก-ข ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในแถวนอนเดียวกันมีอักษรต่างกันแสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(p<0.05)

    1. อาหารสูตรมันสำปะหลังทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะให้สมรรถภาพการผลิตของไก่เนื้อได้น้ำหนักสุดท้ายและประสิทธิภาพการใช้อาหาร (FCR) ไม่แตกต่างจากอาหารสูตรข้าวโพดทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะ
    2. ไก่ที่กินอาหารสูตรมันสำปะหลังทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่าไก่ที่กินอาหารสูตรข้าวโพดทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ไก่กลุ่มกินอาหารสูตรข้าวโพดที่ไม่เสริมยาปฏิชีวนะมีอัตราการตายของไก่สูงมากเกินกว่ามาตรฐานทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ไก่ที่กินอาหารสูตรมันสำปะหลังและไม่เสริมยาปฏิชีวนะยังมีอัตราการตายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (5 – 6 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งช่วยควบคุมให้ต้นทุนการผลิตไก่เป็นไปตามปกติ
    3. ไก่ที่กินอาหารสูตรมันสำปะหลังทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะมีลักษณะซากไม่แตกต่างจากไก่ที่กินอาหารสูตรข้าวโพดทั้งเสริมและไม่เสริมยาปฏิชีวนะ
    4. การใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารไก่เนื้อช่วยทำให้การเลี้ยงไก่เนื้อไม่มีความจำเป็นต้องเสริมยาปฏิชีวนะในสูตรอาหาร โดยที่ไก่เนื้อยังให้สมรรถภาพการผลิต คุณภาพซากดีและมีอัตราการตายต่ำตามเกณฑ์มาตรฐานทุกประการ

การประยุกต์ผล :

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามันสำปะหลังเหมาะกับการเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออกที่มีข้อบังคับต้องไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง ไก่ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารมันสำปะหลังและไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะยังมีอัตราการเติบโต คุณภาพซาก และอัตราการตายเป็นปกติทุกประการ