อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันมากทั้งในเขตนอกชลประทาน ในเขตชลประทานถึงแม้จะมีน้ำแล้วแต่เกษตรกรก็ยังไม่สามารถนำไปใช้
ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผลผลิตอ้อยมีปริมาณไม่พอเพียงตามที่โรงงานต้องการ

สรุปสาระโดยย่อของผลการดำเนินงาน
      
             การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมสภาพปัจจุบันของของการพัฒนาระบบชลประทานในไร่นา ชุดิน ความเหมาะสมของดิน ผลผลิต
อ้อย และสภาพถือครองที่ดินของพืชที่ปลูกอ้อยในเขต โครงการชลประทานแม่กลองใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 7 จังหวัด คือ กาญจนบุรี
ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และเพชรบุรี รวมถึงการจัดทำแผนที่ดิจิตอลของระบบส่งน้ำและระบายน้ำ ชุดดินและความเหมาะสมของดิน

                     ดำเนินการจัดลำดับพื้นที่สำหรับการพัฒนาเพิ่มเพิ่มผลผลิตอ้อย โดยพิจารณาใช้ดัชนี 5 ประเภท ซึ่งได้แก่
1. สภาพการถือครองพื้นที่ปลูกอ้อย โดยพิจารณาเปอร์เซนต์การถือครองที่ดินของตนเอง
2. ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกอ้อย
3. ลผลิตอ้อยที่ผ่านมา
4. ระบบชลประทานในไร่นา
5. แผนที่แปลงกรรมสิทธิ์และแผนที่เส้นชั้นความสูง
                     
                     จากผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตชลประทานสำหรับปีการผลิต 2542-2543 ทั้งหมดประมาณ 0.56 ล้านไร่ ดินที่มีความ
เหมาะสมในการปลูกอ้อยอย่างยิ่งอยู่ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอกำแพงแสน จังหวัด
นครปฐม และพื้นที่ที่ควรได้รับการพัฒนาเป็นลำดับแรกส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

การปรับใช้ประโยชน์ ได้ทราบรายละเอียดและแผนที่ดิจิตอบของระบบชลประทาน ชุดดิน ความเหมาะสมของดินในการปลูกอ้อย พื้นที่ปลูก
อ้อย และผลผลิตอ้อย และสามารถใช้ผลการวิจัยนี้ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ปลูกอ้อยอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลและแผนที่จาก
การวิจัยเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรด้วย