ผลไม้ในฤดูกาลก็มีให้รับประทานอยู่แล้วมากมาย
แต่ความต้องการของมนุษย์นั้นมีไม่สิ้นสุดจึงเกิดมีมนุษย์ที่มีความต้องการผลไม้นอกฤดูและขณะเดียวกันผลไม้นอกฤดูก็มีราคาสูง
จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่จะทำให้มีผลไม้ออกมาจำหน่ายนอกฤดูกาลมากขึ้น
จึงมีงานวิจัยที่อาศัยความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้ไม้ผลมีการออกดอกติดผลนอกฤดูกาลกันมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร
ทั่วไป แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดูมีวิธีการต่างๆ หลายวิธีดังนี้
- ใช้พันธุ์ที่ออกดอกนอกฤดูอยู่แล้ว
เช่น มะม่วงพันธุ์ทะวายต่างๆ น้ำดอกไม้ทะวาย พิมเสนมันทะวาย โชคอนันต์
เป็นต้น
- เลือกช่วงเวลาการปลูกให้ไม่ตรงกับคนอื่น
ใช้กับไม้ผลที่มีอายุสั้นเมื่อถึงอายุก็ออกดอกติดผล เช่น กล้วย มะละกอ
ปกติต้องอาศัยน้ำฝนจะปลูกต้นฤดูฝน หากมีน้ำชลประทานควรเลือกปลูกช่วงปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้งจะทำให้มีผลผลิตจำหน่ายไม่ตรงกับเขตอื่น
- ใช้การตัดแต่งกิ่ง ทำกับไม้ผลที่เมื่อแตกกิ่งใหม่จะมีช่อดอกออกมาด้วย
เช่น น้อยหน่า ฝรั่ง องุ่น เป็นต้น
- ใช้ปุ๋ยเคมี N.D.Bondad it
af 1978 รายงานว่าโปแตสเซียมไนเตรทอัตราความเข้มข้น 1-4 เปอร์เซ็นต์
ทำให้มะม่วงพันธุ์คาราบาวแทงช่อดอกนอกฤดูกาลได้
- การใช้สารชะลอการเจริญเติบโต
เช่น พาโคลบิวทราโซล ใช้กับมะม่วงโดยฉีดพ่นทางใบ
อัตรา 1,000-2,000 ppm. ทำให้มะม่วงออกดอกก่อนกำหนด 35 วัน ในปัจจุบันนิยมราดทางดินชิดโคนต้นระยะเหมาะสมของต้นที่จะใช้ต้องมีใบสีเขียวอ่อน
ปริมาณสารต่อต้นเท่ากับความกว้างทรงพุ่มเป็นเมตรคูณด้วยค่าคงที่ของพันธุ์
คือ พันธุ์ออกง่ายให้ค่าคงที่เท่ากับ 10 ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้
ฟ้าลั่น ทองดำ หนองแซง เจ้าคุณทิพย์ แก้วลืมรัง ลิ้นงูเห่า โชคอนันต์
ส่วนพันธุ์ที่ออกยากให้ค่าคงที่ของพันธุ์ออกยาก เท่ากับ 15 ได้แก่
มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย หนังกลางวัน อกร่อง แรด และพิมเสนมัน
การวางแผนการขายน้อยหน่าโดยการตัดแต่งกิ่ง
ตัวอย่างเช่น
ปริมาณสารต่อต้นของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ขนาดพุ่มต้น 4 เมตร
= ก x พ
= 4 x 15
= 60 ซีซี.คัลทาร์ 10%
= 60 กรัมพรีดิกซ์ 10%
ปริมาณสารต่อต้นในมะม่วงน้ำดอกไม้พุ่มต้น
4 เมตร
= ก x พ
= 4 x 10
= 40 ซีซี.คัลทาร์ 10%
= 40 กรัมพรีดิกซ์ 10%
เมื่อคำนวณสารต่อต้นได้แล้วเอาสารละลายในน้ำ
2 ลิตร คนให้เข้ากัน ราดชิดโคนต้น เมื่อราดสารแล้วให้รดน้ำแก่ดิน บริเวณพุ่มต้นไม้ให้ชุ่ม
ระดับ 10-15 เซนติเมตร ทุก 5 วัน อีก 4-5 ครั้ง เพื่อให้สารขึ้นไปที่ยอด
ระยะเวลาเกิดตาดอก พันธุ์ออกง่าย 60-70 วัน พันธุ์ออกยาก 90-120 วัน
การใส่ในช่วงฤดูฝน บางครั้งตาดอกอาจเกิดเป็นตาใบได้ ควรป้องกันโดยในพันธุ์ออกง่ายเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้
1 เดือน ควรพ่นปุ๋ย 0-52-34 (โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต) อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ
20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 10 -14 วัน พันธุ์ออกยากควรพ่นเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้
2 เดือน เมื่อครบกำหนดเกิดตาดอกที่ยอดใช้โปแตสเซี่ยมไนเตรท 500 กรัมต่อน้ำ
20 ลิตร หรือไธโอยูเรีย 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ตาดอกเจริญเป็นช่อออกมา
และดูแลรักษาให้ติดผลและเก็บเกี่ยวได้ต่อไป
ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ออกง่าย
ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ที่ออกยาก
หมายเหตุ
1.ใช้สารคัลทาร์ให้เกิดตาดอก
2.ใช้โปแตสเซียมไนเตรท 2.5 เปอร์เซ็นต์ หรือไธโอยูเรีย 0.5 เปอร์เซ็นต์
ให้ช่อดอกเจริญ
3. ดอกบาน
4. เก็บเกี่ยวผล
การทำนอกฤดูต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีดอกบานในช่วงฝนชุก
หิรัญ
หิรัญประดิษฐ์ และคณะ (2542) ได้ทดลองสารพาโคลบิวทราโซลกับทุเรียนและก่อนใช้สารต้องมีการเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนซึ่งมีปฏิบัติดังนี้
การเร่งให้ทุเรียนแตกใบอ่อนด้วยการตัดแต่งกิ่ง เช่น การตัดแต่งกิ่ง
กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงด้านในพุ่มและกิ่งเล็กๆ ที่อยู่ส่วนปลายกิ่งออก
โดยเฉพาะกิ่งที่ชี้ลงหรือกิ่งที่ชี้ตั้งขึ้น เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ขนานแนวพื้นไว้
แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 พร้อมให้น้ำ ทุเรียนจะแตกใบอ่อนให้สมบูรณ์
โดยป้องกันกำจัดโรคและแมลงไม่ให้ใบถูกโรคและแมลงทำลาย
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลที่มีความเข้มข้น
1,00-15,000 พีพีเอ็ม (สารชนิด 10% ใช้อัตรา 200-300 ซีซี.ต่อน้ำ 20
ลิตร) ต้นทุเรียนที่พร้อมจะฉีดพ่นใบต้องเป็นใบแก่ สีเขียวเข้มเป็นมัน
มีการแตกใบอ่อนหลายชั้นในช่วงที่ผ่านมา การฉีดพ่นควรฉีดพ่นให้ถูกกิ่งอ่อน
เป็นตำแหน่งที่สารพาโคลบิวทราโซลจะเข้าสู่พืชได้ดีและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปสะสมและทำปฏิกิริยา
การฉีดพ่นต้องปรับหัวฉีดให้เป็นฝอย
ฉีดพ่นทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่มให้เปียกพอสม่ำเสมอและต้องฉีดพ่นให้เสร็จก่อนฝนตกประมาณ
2 ชั่วโมง
เมื่อทุเรียนดอกบานต้องช่วยผสมเกสรและควบคุมการให้ปุ๋ยให้น้ำให้พอเหมาะ
เมื่อผลทุเรียนโตขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งผลให้เสร็จภายในสัปดาห์ที่
4 หลังจากดอกบานโดยตัดแต่งผลที่บิดเบี้ยว มีขนาดเล็ก หรือต่างรุ่นออกให้ผลอยู่ในตำแหน่งที่มีระยะห่างที่พอเหมาะ
เมื่อผลโตขึ้นจะได้ไม่เบียดกัน
6. การใช้สารเคมีอื่นๆ
เช่น โปแตสเซียมคลอเรต พาวิน มะโนชัย (2542) รายงานว่า
โปแตสเซียมคลอเรทสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูกาลได้ โดยลำไยอีดอใช้สารดังกล่าว
8 กรัมต่อตารางเมตร สำหรับพันธุ์ชมพูใช้สารดังกล่าวอัตรา 1 กรัมต่อตารางเมตรจะทำให้ออกดอก
100 เปอร์เซ็นต์ โดยลำไยจะต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง
ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์ โดยสังเกตจากสายตาว่ามีใบสีเขียวเข้ม
แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียมคลอเรท ผสมน้ำ 20 ลิตรราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่มแต่ก่อนใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ
หลังจากบังคับให้ไม้ผลออกดอกได้แล้วต้องดูแลให้ติดผลและผลเจริญเติบโตถึงแก่
เก็บเกี่ยวจึงจะได้ผลไม้นอกฤดูตามที่ต้องการ
|