ผลของระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหัวใต้ดินของบุกไข่
Effects of Plant Spacing on Growth and Yield of Elephant Foot Yam
(Amorphophallus oncophyllus. Prain ex Hook. F)
 
สุเมศ ทับเงิน1 กิ่งกานท์ พานิชนอก1 อำนวย โยธาศิริ2 นพศูล สมุทรทอง1 และ ธีระ สมหวัง1
1สถานีวิจัยเขาหินซ้อน  สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
2ภาควิชาพืชไร่นา  คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โทร. 0-3855-1201

    การศึกษาผลของระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลิตหัวใต้ดินของบุกไข่ ทำการทดลอง ณ สถานีวิจัยเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ระหว่างเดือนเมษายน 2543 ถึงเดือนมีนาคม 2544 ประกอบด้วย 8 ระยะปลูกคือ 1) 25x25 ซม. 2) 30x30 ซม. 3) 35x35 ซม. 4) 40x40 ซม. 5) 45x45 ซม. 6) 50x50 ซม. 7) 55x55 ซม. และ 8) 60x60 ซม. พบว่า ที่ช่วงอายุ 60 90 และ 120 วันหลังปลูก บุกไข่ที่ระยะปลูก 25x25 ซม. ให้ความยาวของก้านใบสูงสุดคือ 58.50 70.44 และ 75.85 ซม. ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับที่ระยะปลูก 45x45 ซม. ที่มีความยาวของก้านใบต่ำสุดคือ 41.41 53.13 และ 58.36 ซม. ตามลำดับ ในทำนองเดียวกันที่ช่วงอายุ 60 90 และ 120 วันหลังปลูก เส้นผ้าศูนย์กลางก้านใบของบุกไข่ที่ระยะปลูก 25x25 ซม. ก็มีค่าสูงที่สุดคือ 2.21 2.53 และ 2.58 ซม. ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับบุกไข่ที่ระยะปลูก 60x60 ซม. ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบบุกไข่ต่ำสุดคือ 1.58 1.71 และ 1.81 ซม. ตามลำดับ เส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักสดของหัวใต้ดินที่อายุ 120 วัหลังปลูก ของบุกไข่ที่ระยะปลูก 25x25 ซม. มีค่าสูงสุดคือ 7.62 ซม. และ 221.43 กรัมต่อหัว ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับบุกที่มีระยะปลูก 60x60 ซม. ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักสดของหัวใต้ดินต่ำที่สุดคือ 5.32 ซม. และ 123.75 กรัมต่อหัว ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจำนวนไข่ที่เกิดบนใบที่อายุ 120 วันหลังปลูกของบุกไข่ที่ระยะปลูก 50x50 ซม. มีมากที่สุดคือ 3.13 ไข่ต่อต้น ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับบุกไข่ที่มีระยะปลูก 60x60 ซม. ที่มีจำนวนไข่ที่เกิดบนใบต่ำสุดคือ 2.33 ไข่ต่อต้น สำหรับน้ำหนักไข่ที่เกิดบนใบที่อายุ 120 วันหลังปลูกของบุกไข่ที่ระยะปลูก 40x40 ซม. มีค่าสูงสุดคือ 6.10 กรัมต่อต้น ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับบุกไข่ที่มีระยะปลูก 35x35 ซม. ที่มีน้ำหนักไข่ที่เกิดบนใบต่ำสุดคือ 3.60 กรัมต่อต้น การปลูกบุกไข่ที่ระยะปลูก 25x25 ซม. ให้ผลผลิตสูงที่สุดคือ 2.14 กก.ต่อ 10 ต้น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับที่ระยะปลูก 40x40 50x50x 35x35 30x30 และ 45x45 ซม. ซึ่งให้ผลผลิต 2.13 1.97 1.96 1.89 และ 1.88 กก.ต่อ 10 ต้น ตามลำดับ ขณะที่บุกไข่ระยะปลูก 25x25 ซม. ให้ผลผลิตสูงกว่าที่ระยะปลูก 55x55 และ 60x60 ซม. ซึ่งให้ผลผลิต 1.82 และ 1.74 กก.ต่อ 10 ต้น ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อสิ้นสุดฤดูปลูก

สรุป
    1. บุกไข่จะมีความงอกสูงสุดคือ 83-87%หลังจากปลูก 60 วัน
    2. ความยาวของก้านใบบุกไข่ในทุกช่วงอายุที่ทำการศึกษา คือ 60 90 และ 120 วันหลังปลูก ที่ระยะปลูก 25X25 ซม.มีค่าสูงสุดคือ 58.50 70.44 และ75.85 ซม.ตามลำดับ ส่วนระยะปลูก 45X45 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 41.41 53.13 และ58.36 ซม.ตามลำดับ
    3. เส้นผ่าศูนย์กลางของก้านใบของบุกไข่ทุกช่วงอายุที่ทำการศึกษา คือ 60 90 และ 120 วันหลังปลูก ที่ระยะปลูก 25X25 ซม. มีค่าสูงสุดคือ 2.21 2.53 และ 2.58 ซม.ตามลำดับ ส่วนระยะปลูก 60X60 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 1.58 1.71 และ1.81 ซม.ตามลำดับ
    4. เส้นผ่าศูนย์กลางของหัวใต้ดินที่อายุ 120 วันหลังปลูก ระยะปลูก 25X25 ซม.มีค่าสูงสุดคือ 7.62 ซม. ส่วนที่ระยะปลูก 60X60 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 5.32 ซม.
    5. น้ำหนักสดหัวใต้ดินที่อายุ 120 วันหลังปลูก ที่ระยะปลูก 25X25 ซม.มีค่าสูงสุดคือ 221.43 กรัมต่อหัว และที่ระยะปลูก 60X60 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 123.75 กรัมต่อหัว
    6. จำนวนไข่ที่เกิดบนใบที่อายุ 120 วันหลังปลูก ที่ระยะปลูก 50X50 ซม.มีค่าสูงสุดคือ 3.13 ไข่ต่อต้น และที่ระยะปลูก 60X60 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 2.33 ไข่ต่อต้น
    7. น้ำหนักไข่ที่เกิดบนใบที่อายุ 120 วันหลังปลูก ที่ระยะปลูก 40X40 ซม.มีค่าสูงสุดคือ 6.10 กรัมต่อต้น และที่ระยะปลูก 35X35 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 3.60 กรัมต่อต้น
    8. ผลผลิตหัวบุกไข่เมื่อสิ้นสุดฤดูปลูก ที่ระยะปลูก 25X25 ซม.มีค่าสูงสุดคือ 2.14 กก.ต่อ10ต้น หรือ 34,240.00 กก.ต่อเฮกตาร์ และที่ระยะปลูก 60X60 ซม.มีค่าต่ำสุดคือ 1.74 กก.ต่อ10ต้น หรือ 4,832.88 กก.ต่อเฮกตาร์
    9. ควรมีการทดลองซ้ำในปีต่อไป เพื่อยืนยันผลการทดลองก่อนที่จะนำไปแนะนำส่งเสริม และควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการเพาะปลูกบุกไข่ในระบบการปลูกพืชด้วย