รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2539
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
จากสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ
................................................................................................................................................

คำประกาศเกียรติคุณ

คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนให้กับการวิจัยด้านการประมวลภาษาธรรมชาติด้วยคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง และต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ผลงานวิจัยจำนวนมากเป็นประโยชน์ และมีคุณค่าต่อวงวิชาการ รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ เป็นผู้มีความเสียสละ ได้นำเงินรางวัลที่ได้รับจากผลงานวิจัยทุกครั้งมาปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยทำให้งานวิจัยสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างสมถะมีจริยธรรมของนักวิจัย สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่น คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ จึงมีมติประกาศเกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2539 สาขาวิทยาศาสตร์ภายภาพและคณิตศาสตร์


ประวัติส่วนตัว
เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2493 ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 99/36 ซอยหมู่บ้าน 99 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 สมรสกับนางวรรณา ภู่วรวรรณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ปัจจุบันมีบุตร และธิดา 3 คน คือ นางสาววรรณพร, นางสาวณัญจนา, ด.ช.ณัช ภู่วรวรรณ

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. 2515 วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร จากจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2518 วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2518 M.Eng. Industrial Engineering จาก Asian Institute of Technology


  ประวัติการทำงาน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตำแหน่งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ
- รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 2545-ปัจจุบัน
- อาจารย์สอนทางด้านคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี 2516
- หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยไมโครคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2524
- กรรมการบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2536
- ประธานกรรมการ กรรมการควบคุมและที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาโท
คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2523
- กรรมการประจำสำนักหอสมุด ตั้งแต่ปี 2535
- กรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2532
- กรรมการประจำสำนักทะเบียนและประมวลผล ตั้งแต่ปี 2538
- กรรมการประจำสำนักส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2539
- รองประธานกรรมการวางระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2538
- อาจารย์พิเศษโครงการบัณฑิตศึกษาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร (Ex-MBA) ในวิชา Management Information System ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534



เป็นกรรมการ/อนุกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ :

- กรรมการสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี 2539
- กรรมการสมาคมอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2529
- ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้คำปรึกษา การพิจารณาระบบงานคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ
ของสำนักงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2536
- รองประธานกรรมการ คณะกรรมการวิชาการที่ 478 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมจัดทำมาตรฐาน มอก. 620-2529 UDC 681.3.04ซ003.62 "Standard for Thai Character Code for Computer"
- กรรมการปรับปรุงวิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ตามมาตรฐาน TC 92 ขององค์
การว่าด้วยเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO) จัดดำเนินการโดยราชบัณฑิตฯ
- เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดทำหลักสูตรคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนในระดับมัธยม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532
เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานราชการ ของสำนักงบประมาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535
- ที่ปรึกษาด้านระบบงานคอมพิวเตอร์ของ การประปานครหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529
- เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่ปี 2534
- เป็นประธานจัดการประชุมนานาชาติ "International Symposium on Natural Language Processing" ครั้งที่ 2 ในวันที่ 3-5 สิงหาคม 2538
- เป็นกรรมการจัดประชุมนานาชาติ ICASE-ASIAN SYMPOSIUM ครั้งที่ 9 จัด ณ กรุงเทพฯ
- เป็นตัวแทนในคณะกรรมการ International Olympiad in Information ในฐานะที่ประเทศไทย จะรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน Computer Olympic ในปี 2544
- เป็นที่ปรึกษาโครงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ตั้งแต่ปี 2533


 

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ

2525 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันสถาปนาฯ เรื่อง "หุ่นยนต์อุตสาหกรรม"
2526 ได้รับรางวัลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลที่ 2 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "การประมวลผลข้อมูลภาษาไทย ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์"
2527 ได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลที่ 2 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "อัลกอริทึมคำไทย และการสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย"
2527 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันสถาปนาฯ เรื่อง "การปะมวลผลข้อมูลภาษาไทย และไทยเวิร์ดโปรเซสซิ่ง"
2528 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันสถาปนาฯ เรื่อง "การประยุกต์ใช้อัลกอริทึมภาษาไทย"
2529 ได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลที่ 3 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "การประยุกต์ใช้ฐานความรอบรู้ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์"
2530 ได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลที่ 3 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "ระบบการจัดเรียงพิมพ์ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์"
2531 ได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลที่ 3 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "ซอฟต์แวร์ไบออสสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์"
2533 ได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลที่ 3 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "ไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิท และระบบแก่นภาษาไทย"
2535 ได้รับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รางวัลชมเชยจากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์แบบมือถือ"
2535 ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานดีเด่น สาขาเทคโนโลยี ในการประชุมวิชาการ ประจำปีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง "อรรถาภิธาน"