![]() |
โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน
Kamphaengsaen Beef Breed ................................................................................................................................................ ปรีชา อินนุรักษ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
โคพันธุ์ กำแพงแสน เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของไทยคุณสมบัติที่ดีเลิศของโคพื้นเมืองที่ไม่มีโคพันธุ์ใดเทียบได้ คือความสมบูรณ์พันธุ์ ได้แก่ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ได้ลูกทุกปีทั้งๆที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นัก แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้ ทั้งนี้เพราะมีขนาดตัวเล็ก และโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมืองโดยการนำโคพันธุ์ บราห์มันมาผสมเพื่อให้ได้ลูกที่มีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้นแต่เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า โคอินเดีย (บราห์มันและอินดูบราซิล)มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์การยกระดับเลือดโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดยากมากขึ้น ยิ่งถ้าได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ โคจะไม่ยอมเป็นสัดนอกจากนี้ คุณภาพของเนื้อโคบราห์มันก็ด้อยกว่าโคเมืองหนาว ดังนั้นโครงการปรับปรุงพันธุ์ฯ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงพยายามรักษาเลือดโคพื้นเมืองไว้
25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้คงความดีของความสมบูรณ์พันธุ์ และจำกัดเลือดพันธุ์บราห์มันไว้เพียง
25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ได้โครงสร้างใหญ่ขึ้น โดยที่เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ไม่เกิดปัญหา
แล้วนำโคพันธุ์ชาโรเลส์เข้ามาช่วยในเรื่องการให้เนื้อ และการเจริญเติบโต แต่โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคเมืองหนาว
ซึ่งไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนบ้านเราได้ จึงจำกัดเลือดของพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง
50 เปอร์เซ็นต์
โดยสรุปคือ การสร้างโคพันธุ์"กำแพงแสน"เพื่อต้องการสร้างพันธุ์โคที่มีคุณสมบัติเป็นโคเนื้อที่ดีครบถ้วนสำหรับเลี้ยงในสภาพทั่วไปของประเทศไทย โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่(โคพื้นเมือง)เป็นพันธุ์พื้นฐาน |
แผนผสมพันธุ์เพื่อสร้างโคพันธุ์กำแพงแสน