โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ในพระบรมราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
................................................................................................................................................
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

          ความหมายตราสัญลักษณ์โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ รับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ไว้ในพระราชานุ
เคราะห์ และพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธย
ย่อ ไว้ในเครื่องหมาย


  สีเหลือง - ขาว เป็นสีประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร
  สีเขียว สีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  กากบาท แทนการช่วยเหลือ การรักษาให้แข็งแรงขึ้นและ
ดีขึ้น
  รวงข้าว เปรียบได้กับการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์
ทางการเกษตรรวมถึงเป็นตัวแทนของเกษตรกร
ทั่วประเทศ

     การใช้เทคโนโลยีการเกษตร หรือนวัตกรรมที่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่
สำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างแรงจูงใจใน
การกระตุ้นเศรษฐกิจการผลิตภาคการเกษตร โดยจำเป็นต้องมีการสร้าง
ความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรวิจัยและพัฒนาภาคการเกษตรที่เป็นแหล่ง
บริการความรู้เฉพาะด้านกับเกษตรกรเป้าหมายที่จะต้องนำความรู้
วิทยาการใหม่ และการบริการทางวิชาการ โดยอาศัยช่องทาง (Channel)
ต่าง ๆ ที่สามารถให้บริการตรงความต้องการ และทันต่อเหตุการณ์ การ
จัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้การบริการทางวิชา
การและการถ่ายทอดเทคโนโลยีบรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวังเร็วขึ้น ซึ่งการ
ดำเนินงานในรูปแบบนี้จะเป็นการบูรณาการนักวิชาการแต่ละสาขา ทั้งด้าน
พืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนาที่ดิน ฯลฯ โดยอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์เข้าช่วย
ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ทุกจุด สร้างแรงดึงดูดใจ
จากเกษตรกร ส่วนใหญ่ในพื้นที่เป้าหมาย เป็นการกระตุ้นเกษตรกรให้เกิด
การตื่นตัว และยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความปลื้มปิติ และสำนึกในพระมหา
กรุณาธิคุณสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระ
ชนมายุครบ 50 พรรษา ในพุทธศักราช 2545 จึงขอพระราชานุญาตจัดทำ
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่กราบบังคมทูลถวาย และสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับโครงการดังกล่าวไว้ในพระราชา
นุเคราะห์ และทรงพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่อง
หมายตราสัญลักษณ์โครงการ
 

 แนวทางการดำเนินงานตามโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ประกอบด้วย


 การเตรียมทีมงาน
     จัดเตรียมทีมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โดยการบูรณาการและ
พัฒนานักวิชาการประจำศูนย์ ฯ/สถานี ฯ ทางวิชาการ ทางด้านพืช
ปศุสัตว์ ประมง ชลประทานพัฒนาที่ดินและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
     ความจำเป็นในการบูรณาการและพัฒนานักวิชาการโดยการ
ปฏิรูปพัฒนาชี้แจงและฝึกทักษะข้าราชการกลุ่มนักวิชาการประจำ
ศูนย์ฯ/สถานีฯ ทางวิชาการ ทางด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนาที่ดิน
ชลประทาน ฯลฯ เพื่อปรับฐานคติ (assumption) และค่านิยม ซึ่งมุ่ง
เน้นให้เกิดความมุ่งมั่น เสียสละในอาชีพการให้บริการเกษตรกร
รักงาน รักการช่วยเหลือและมีส่วนร่วมและรักการให้บริการ
เป็นการเพิ่มพูนศักยภาพในลัษระการบูรณาการและการทำงาน
แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนที่ยึดเกษตรกรแต่ละชุมชนในพื้นที่เป้า
หมายเป็นสำคัญเพื่อให้เกิด

  • ความรู้ (Knowledge) ตามหลักวิชาการ "การถ่ายทอด
    เทคโนโลยี" ที่จะต้องนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติได้ในสภาพ
    เป็นจริง ตามภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและรับผิดชอบ
  • ความเข้าใจ (Understanding) ให้รู้เหตุผล หลักการ
    แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ เพื่อให้
    สามารถดำเนินการตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทัศนคติ (Attitudes) ที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิด "ความ
    รู้สึก" ที่มั่นคงในตนเองของผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการ
    และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • ทักษะ (Skills) ที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดเป็นความชำนาญ
    จนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งทักษะทาง
    เทคนิค (Technique skills)ทักษะทางความคิด
    (Conceptual skills) และทักษะทางมนุษยสัมพันธ์
    โดยตรง (Human relations skills)
  • บุคลิก (Personality) ที่เกื้อกูลต่อตนเอง และต่อความ
    รู้สึกของเกษตรกรเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ การสร้าง
    เครือข่ายและการให้บริการวิชาการในการจัดการไร่นา
    และการถ่ายทอดเทคโนโลยี




ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     1. เกษตรกรที่ได้รับการบริการสามารถแก้ไขปัญหา หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นประจำ ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ไร่นา การจัดการน้ำ
การป้องกันโรคและแมลง ความยากจนและเป็นหนี้สิน โดยการพัฒนาการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้ ด้วยวิธีการบริการเคลื่อนที่ทางการ
เกษตรและการเสริมสร้างความรู้แก่เกษตรกร
     2. ทำให้เกษตรกรที่ได้รับบริการสามารถสร้างรายได้ และรวมพลังกันเป็นองค์กรเกษตรกรที่มีการจัดการไร่นาในรูปแบบ
เกษตรที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ พร้อมทั้งร่วมมือกับแหล่งเงิน และแหล่งพลังงานในชุมชนอย่างมี
ประสิทธิภาพ
     3 ทำให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง โดยการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานร่วมกันของเกษตรกร แกนนำกลุ่มอาชีพ
และศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
     4. ทำให้ทราบถึงผลตอบแทนของเกษตรกรที่ได้รับบริการ ซึ่งมีการจัดการไร่นาที่เหมาะสมด้านวิศวกรรมดินและน้ำ กระบวน
การและผลการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ด้านทัศนคติ ด้านทักษะในการคิดและการกระทำ ตลอดจนระดับการยอมรับและ
การแพร่กระจายแนวคิดใหม่สู่ชุมชนเพื่อนำไปขยายผลการพัฒนาการเกษตรตามหลักวิชาการต่อไป