เกษตรอินทรีย์และการรับรอง
Organic Agricultural and Certification
................................................................................................................................................
รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล
งานวิจัยสภาวะแวดล้อม ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์ ?
         กระแสการบริโภคอาหารสุขภาพเคลื่อนไหวรุนแรง
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งความต้องการผลผลิต
และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์(Organic product) ขยายตัว
เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคจนทำให้มีการระบุผลผลิตในรูปแบบ
ต่างๆ เช่น ปลอดสารพิษ, ไร้สารพิษ, ปลอดภัยจากสารพิษ,
เกษตรธรรมชาติ ฯลฯ ออกมาวางจำหน่ายมากมาย ซึ่งอาจ
สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคได้ เนื่องจากกระบวนการ
ควบคุมฉลากสินค้าในการโฆษณายังไม่รัดกุมเพียงพอ
จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้บริโภคต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นหน้า
ที่หนึ่งของนักวิชาการในการเสนอข้อมูลที่เที่ยงตรงตาม
ความเป็นจริง

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ?
        ในหลักการสั้นๆ การผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์
หมายถึง ระบบการผลิตใดๆ ที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีใน
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การผลิตพืชแบบอินทรีย์จะเน้น
การผลิตที่ยั่งยืน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคงความ
หลากหลายทางชีวภาพ
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ :
        เพื่อป้องกันความสับสนในวิธีการผลิต และการพิจารณา
ยอมรับวิธีการต่างๆ ที่มีความหลากหลายในการผลิต และเพื่อ
ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จึงมีกลุ่มดำเนินการจัดทำมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์เพื่อเป็นมาตรฐานการผลิตในประเทศไทย โดย
ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ 2 ฉบับ
คือ ฉบับของภาคองค์กรเอกชนที่จัดทำโดย สำนักงานมาตรฐาน
สินค้าเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และฉบับราชการที่จัดทำโดยกรม
วิชาการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมาตรฐานทั้ง 2 ฉบับที่จัด
ทำขึ้นได้ยึดถือแนวทางของมาตรฐานในระบบสากลเป็นส่วนใหญ่



จะเข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร ?
        ในระบบเกษตรอินทรีย์นั้นเป็นระบบการผลิตที่ปฏิเสธ
การใช้สารเคมีสังเคราะห์ โดยยึดหลักความอุดมสมบูรณ์ของ
ดิน และ หันมาใช้วิธีการปลูกพืชที่หลากหลายมากขึ้น ปลูก
พืชหมุนเวียน พยายามปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอ และยังต้อง
มีการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีสู่ผลผลิตด้วย ซึ่งใน
การปรับเปลี่ยนจากวิธีการผลิตพืชแบบเดิมมาสู่การผลิต
แบบเกษตรอินทรีย์จะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้พื้นที่นั้น
บริสุทธิ์หรือมีการปนเปื้อนสารเคมีน้อยที่สุด อีกทั้งในขบวน
การผลิตนั้นห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด จึงได้มีการใช้ปุ๋ยหมัก
และปุ๋ยคอกทดแทนปุ๋ยเคมี และการใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ

  ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งปัจจัยการผลิตนั้นจะต้อง
ปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษตกค้างและจุลินทรีย์ปน
เปื้อน เนื่องจากปัจจุบันการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
ในประเทศไทย ได้มีสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
หรือ มกท. ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ซึ่งทำการบริการตรวจ
สอบและรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปผลิต
ภัณฑ์และการจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ คณะวิจัยฯ
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จึง
ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตพืชอินทรีย์ ตลอดจนบริษัทที่มีกิจการ
ด้านอาหารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดหาระบบผลิตพืช
อินทรีย์ ตลอดจนขั้นตอนในการตรวจสอบรับรองเพื่อนำไป
สู่การรับรองที่น่าเชื่อถือได้

 
ตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยรัฐร่วมเอกชน โดยระยะแรกจะใช้รับรองวิธีการต่างๆ ได้แก่
1. รับรองพื้นที่ว่าเหมาะสมในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์
2. รับรองการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์
3. รับรองปัจจัยการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์

ผลการดำเนินงาน
การปรับใช้ประโยชน์
        1. แผนการวางระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์
        2. แนวทางการวางรูปแบบและจัดระบบเอกสารเพื่อการ
            บันทึกตลอดขบวนการผลิต
        3. วิธีการปรับเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การรับรอง
        4. วิธีการตรวจประเมินระบบเกษตรอินทรีย์
        5. กระบวนการตัดสินใจโดยใช้การระดมความคิดด้าน
            วิชาการเพื่อนำไปสู่การรับรอง
        1. วิธีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่ยอมรับ
        2. ระบบตรวจสอบ ประเมิน รับรอง
        3. การผลิตพืชอินทรีย์ และต่อเนื่องไปยังการแปรรูป
             ผลิตภัณฑ์เพื่อการรับรอง
        4. ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยข้อมูลยืนยัน
            และพื้นฐานวิชาการที่เป็นที่ยอมรับโดยสากล

Web site ที่น่าสนใจ : www.thaiorganiccrop.org, www.omri.org, www.ams.usda.gov/nop, www.tilth.org, www.ccof.org, www.nofa.org,
www. ioia.net, www.demeter-usa.orh, www.soilassociation.org,