แมลงกินได้
Edible insects
................................................................................................................................................
สุรเชษฐ จามรมาน1 และคณะ2
1 ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร และ
สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้

       การนำแมลงมาประกอบอาหาร เกิดขึ้นมานานแล้วทั้ง
ในประเทศไทยและในต่างประเทศ การนำแมลงมาบริโภค
ของคนไทยในภาคเหนือและภาคอีสาน ถือเป็นภูมิปัญญาที่
สืบทอดกันต่อมา คนไทยรู้จักว่าแมลงชนิดไหนที่รับประทาน
ได้ รวมถึงวิธีการจับและการนำมาปรุงอาหารได้อย่างไร

         ผลจากการสำรวจและการวิจัยเบื้องต้นของนักกีฏวิทยา
ในภาครัฐบาล จากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กรม
ป่าไม้ และจากการสนับสนุนของสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่ง
ประเทศไทย พบว่า ในประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าด้านอาหาร
อย่างน้อย 194 ชนิดแบ่งเป็น



รูปที่ 1 ตัวอย่างแมลงกินได้

  • ด้วงปีกแข็ง 61 ชนิด
  • ปลวก 2 ชนิด
  • มวน 11 ชนิด
  • ผีเสื้อ 47 ชนิด
  • จักจั่น 11 ชนิด
  • แมลงปอ 4 ชนิด
  • ผึ้ง มด ต่อ 16 ชนิด
  • จิ้งหรีดและตั๊กแตน 22 ชนิด

     แมลงที่ทดลองกินแล้วและมีบันทึกไว้ทั่วโลก มีประมาณ 1,462 ชนิด แต่ส่วนที่ยังไม่ได้ทดองลองกินยังคงมีอีกมาก
มาย แมลงพื้นบ้านที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักและนำมากินบ่อย ๆ -ได้แก่ แมลงจินูน แมลงกุดจี่ (ภาพที่ 2) แมลงดานา
ตัวอ่อนผึ้ง มดแดง ตังอ่อนของต่อ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด (ภาพที่ 3)


รูปที่ 2

รูปที่ 3

 










ตั๊กแตนปาทังก้า ดักแด้และหนอนเจาะลำต้นอ้อย หนอนม้วนใบกล้วย แมลงกระชอน แมลงเหนี่ยง ด้วงดิ่ง
แมลงมัน (ตัวเต็มวัยปลวก) แมลงค่อมทอง หนอนและดักแด้ไหม (ภาพที่ 4)


รูปที่ 4

และหนอนกินเยื่อไผ่ (ภาพที่ 5-8)

  
รูปที่ 5

รูปที่ 6

รูปที่ 7

รูปที่ 8




เมื่อนำแมลงมาวิเคราะห์ คุณค่าทางอาหาร พบว่า

  • ตั๊กแตนปาทังก้า ให้โปรตีนมากที่สุด
  • หนอนกินเยื่อไผ่ ให้ไขมันสูงสุด
  • ตั๊กแตนหญ้าคา ให้พลังงานมากที่สุด
  • หนอนนก มีแคลเซียมมากที่สุด
  • แมลงทับขาแดงมีฟอสฟอรัสมากที่สุด
  


     ในการจัดนิทรรศการแมลงกินได้ครั้งนี้ จะมีการสาธิตการเลี้ยงจิ้งหรีด การเลี้ยงหนอนไหม และการ
เลี้ยงหนอนเยื่อไผ่ พร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ จากแมลงที่สามารถนำมาเลี้ยงได้จนประสบความสำเร็จในเชิง
พาณิชย์ จากบริษัท รวมแมลงพิษณุโลก จำกัด บริษัท Insect Inter จำกัด บริษัท จิม ทอมสัน และบริษัท
ไหมไทย