![]() |
การศึกษาผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากปลาทะเล
Study of Pla-Ra from Marine Fish ................................................................................................................................................ มัทนา แสงจินดาวงษ์ จิราพร รุ่งเลิศเกรียงไกร วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ ปราณิศา เชื้อโพธิ์หัก ดวงเดือน วารีวะนิช และ นางผ่องเพ็ญ รัตตกูล ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปลาร้า
เป็นอาหารพื้นเมืองของไทยที่นิยมบริโภคกัน ทั่วไปแทบทุกภาค ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาแดกหรือปลาฮะ ภาคกลางและทั่ว ๆ ไป เรียกว่า ปลาร้า กระบวนการผลิต ปลาร้าปลาร้าส่วนใหญ่ทำมาจากปลาน้ำจืด ซึ่งได้แก่ ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาตะเพียน ปลาชะโด และปลานิล ส่วน ปลาทะเลที่นิยมนำมาผลิตปลาร้า ได้แก่ ปลาจวด ปลาช่อน ทะเล ปลากระบอก ปลาแป้น และปลาทรายแดง เป็นต้น ส่วนผสมที่สำคัญคือ เกลือและข้าวคั่วหรือรำข้าว อย่างใด อย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้บริโภค ปลาร้าที่ผลิต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้รำข้าว สีของผลิตภัณฑ์ ออกสีน้ำตาลปนดำ นิยมเรียกว่า ปลาร้ารำ ส่วนปลาร้าที่ผลิต ในภาคกลางนิยมใช้ข้าวคั่วจึงมีสีเหลืองนวล และนิยมเรียก ว่า ปลาร้าข้าวคั่ว เดิมการผลิตปลาร้ามักทำกันในระดับครัว เรือน แต่ปัจจุบันมีการผลิตในระดับอุตสาหกรรมขนาดย่อม |
เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากมูลค่าการจำหน่ายปลาร้าภายใน ประเทศสูงถึง 800 ล้านบาท และมีการส่งออกเป็นมูลค่ากว่า 20 ล้านบาทต่อปี (สัตว์น้ำ ปีที่ 11 ฉบับที่ 127 มีนาคม 2543) ผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากปลาทะเล เป็นที่นิยมของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับปลาร้าจากปลาน้ำจืด ดังนั้น จึงได้มีการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากปลาทะเล โดยนำเอาปลาทู ปลาช่อนทะเล ปลาจวด และปลาข้างเหลือง มา ผลิตปลาร้า โดยใช้รำข้าวและเกลือ ใช้เวลาในการหมัก 6 เดือน - 8 เดือน สามารถรับประทานได้ ซึ่งผลการทดลองพบว่าปลาร้าที่ ผลิตจากปลาทูและปลาช่อนทะเลได้รับความนิยมมากกว่าปลาร้า ที่ผลิตจากปลาจวดและปลาข้างเหลือง ความนิยมของผู้บริโภคอาจ แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสี กลิ่น รส ที่ผู้บริโภคพึงพอใจนั่นเอง การผลิตปลาร้าจากปลาทะเลจึงเป็นอีกทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่า สินค้าเพื่อการส่งออกต่อไปในอนาคต |
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำปลาทะเล ได้แก่ ปลาทู ปลาช่อนทะเล ปลาจวด และปลา ข้างเหลือง มาทดลองแปรรูป เป็นปลาร้า 2. เพื่อศึกษาการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปลาร้าในสภาวะต่าง ๆ คือ 2.1 ใส่โหลพลาสติกเก็บที่อุณหภูมิห้อง (28oซ-30oซ) 2.2 บรรจุขวดแก้วผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100oซป็นเวลา 20 นาที 2.3 บรรจุกระป๋องผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 116oซป็นเวลา 15 นาที 2.4 บรรจุใน retort pouch ผ่านการฆ่าเชื้อ |
การดำเนินงาน เริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 นำปลาทะเลทั้ง 4 ชนิดคือ ปลาทู ปลาช่อนทะเล ปลาจวด และปลาข้างเหลือง ล้างทำความสะอาด ขอดเกล็ด ตัดหัว ควักไส้ จากนี้จึงนำมาคลุกกับเกลือในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ร้อยละ 13, 18, 22, 25 และ 30 ทุกตัวอย่างเติมรำลงไปร้อยละ 10 คลุกให้เข้ากันดีแล้วนำมาหมักใส่ขวดโหลพลาสติก ปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 28oซ- 30oซตัวอย่างปลาร้ามาตรวจสอบทางประสาทสัมผัสทุกเดือน จนครบ 12 เดือน และเมื่อหมักครบ 6 เดือน และ 12 เดือน นำปลาร้า 4 ชนิด ที่ได้รับคะแนนทางประสาทสัมผัสสูงสุดได้แก่ ปลาช่อนทะเลใส่เกลือ 25% และปลาช่อนทะเล ใส่เกลือ 30% ปลาทูใส่เกลือ 25% และปลาทูใส่เกลือ 30% นำปลาร้าทั้ง 4 ชนิดมา โดยการทอดและหลน นำตัวอย่างปลาร้าทั้ง 4 ชนิด คือ ปลาช่อนทะเลใส่เกลือ 25% กับ 30% และปลาทูใส่เกลือ 25% กับ 30% มาบรรจุในภาชนะ 3 ชนิดคือ 1. บรรจุในขวดแก้ว ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100oซป็นเวลา 20 นาที 2. บรรจุกระป๋อง ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 116oซป็นเวลา 15 นาที 3. บรรจุใน retort pouch ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 116oซป็นเวลา 15 นาที ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 116oซป็นเวลา 15 นาที เก็บปลาร้าในสภาพดังกล่าวต่ออีก 6 เดือน จึงนำมาตรวจสอบลักษณะทา งเคมี ตรวจสอบจุลินทรีย์และตรวจสอบทางประสาทสัมผัส พร้อมทั้งนำมาทำเป็นอาหารโดยการทอดและหลน เพื่อทดสอบการ ยอมรับจากผู้ชิม ผลจากการทดลองนำปลาทะเล 4 ชนิด มาแปรรูปเป็นปลาร้า พบว่าปลาร้าที่ผลิตจากปลาทูและปลาช่อนทะเล ซึ่งเติมเกลือ ร้อยละ 25 และร้อยละ 30 ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้บริโภคจากการตรวจสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสทั้งปลาร้าดิบและ ปลาร้าที่นำมาปรุงอาหารโดยการหลนและโดยการทอด ข้อมูลการตรวจสอบทางจุลินทรีย์ ลักษณะทางเคมี และการตรวจสอบ ทางประสาทสัมผัส แสดงไว้ในตารางและรูปภาพ การตรวจสอบทางจุลินทรีย์และลักษณะเคมี ทำตามวิธี AOAC (1995) การทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยผู้ทดสอบ 15 คน ประเมินคุณภาพความชอบ (hedonic scale) โดยให้คะแนน 1-9 (1 หมายถึง ไม่ชอบมากที่สุด และ 9 ชอบมากที่สุด) ส่วนผลการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสทางสถิติเปรียบเทียบความ แตกต่าง ค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan's multiple range test (จรัญ, 2523) ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 9.0 จากการทดลองครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากปลาทะเลชนิดต่าง ๆ การเน่าเสียของ ปลาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังปลาตาย และจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่จึงมีความสำคัญต่อการเน่าเสียของปลา (Shewan, 1971; Longr?e and Armbruster, 1996) โดยปริมาณเกลือที่ใช้มีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ พบว่าจุลินทรีย์ที่มีบทบาททำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอาหาร ปลาหมักส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ติดมากับเกลือ พบว่าการเน่าเสียของโปรตีนในอาหารปลา หมักเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในเกลือ (Amanoซ, 1962) แบคทีเรียที่พบในเกลือทะเลส่วนใหญ่เป็นสกุล Bacillus (Hurie and Hinagoซ, 1924; มัทนา, 2525) จากการศึกษาคุณภาพและความปลอดภัยของปลาร้าโดยสุ่มตัวอย่างปลาร้าซึ่งผลิตจากปลาน้ำจืด 26 ตัวอย่าง จากแหล่งผลิต 8 แห่ง มาตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยา พยาธิ ทางเคมี และทางประสาทสัมผัส พบว่าปลาร้าทั้ง 26 ตัวอย่าง มีคุณภาพทางจุลินทรีย์และพยาธิปลอดภัยต่อผู้บริโภค (พูลทรัพย์และคณะ, 2543) ซึ่งในการทดลองครั้งนี้ไม่พบแบคทีเรียที่เป็น อันตรายต่อผู้บริโภคเช่นกัน คุณภาพทางเคมีของปลาร้าที่ผลิตจากปลาทูและปลาช่อนทะเลอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับจากผู้บริโภค ถึง แม้ว่า pH 6.5 เหมาะต่อการเกิดฮิสทามีนมากที่สุด (Eitenmiller et al; 1982) จาการทดลองครั้งนี้ ปริมาณฮิสทามีนที่เกิดขึ้นมีปริมาณ ไม่สูงเมื่อเทียบกับน้ำปลาแท้ ซึ่งสุ่มตัวอย่างจากน้ำปลาคุณภาพชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 จำนวน 200 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่ามีปริมาณ ฮิสทามีนอยู่ในช่วงเฉลี่ย 200-800 มก./ลิตร ส่วนใหญ่มีปริมาณฮิสทามีนอยู่ในช่วง 200-600 มก./ลิตร (สุภาพรรณและวราทิพย์, 2541) ดังนั้นปลาร้าจากปลาทะเลที่ผลิตจากการทดลองครั้งนี้จึงเป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้โดยปลอดภัยและสามารถนำไปผลิต เป็นปลาร้าสำเร็จรูป เช่น ปลาร้าผงได้อีกด้วย (ผ่องเพ็ญและคณะ, 2528) |