แนวคิดว่าด้วย
"ทฤษฎีใหม่" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการจัดการชีวิตและ
อาชีพของเกษตรกร เพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะส่งผลสู่ "เศรษฐกิจพอเพียง"
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มเป้า
หมายหลักที่ต้องการให้เกิดการยอมรับและนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัตินั้นยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกันมาก
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของการ
สื่อสารเพื่อสร้างให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การยอมรับ และนำไปปฏิบัติ
ในการเผยแพร่
"ทฤษฎีใหม่" ที่ผ่านมา สื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ
มีรูปแบบที่แตกต่างกันเนื้อหา
ส่วนใหญ่ที่นำเสนอในประเด็นของหลักการ ประโยชน์ การปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินการตามแนวคิด
"ทฤษฎีใหม่" ที่หลากหลาย
มีการเน้นรายละเอียดและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกัน ส่วนที่เหมือนกันก็คือ
วัตถุประสงค์ที่มุ่งให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความ
รู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ "ทฤษฎีใหม่" และสามารถนำไปปฏิบัติได้
แต่ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่จัดทำสื่อต่าง ๆ อาจไม่บรรลุผล
เพราะตัวเกษตรกรที่เป็นผู้รับสารต่าง ๆเหล่านี้จะมีกระบวนการในการรับรู้
การตีความ และการเข้าใจแตกต่างกันไป อีกทั้งสารที่ได้
รับมามีปริมาณและคุณภาพที่ไม่เท่ากัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการยอมรับทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติของเกษตรกรไม่เท่ากันตามไปด้วย
ด้วยเหตุนี้
โครงการนี้จึงสนศึกษาในประเด็นของกระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแพร่นวัตกรรรม
ที่ในที่นี้หมายถึง
"ทฤษฎีใหม่" กระบวนในการแสวงหาข่าวสารของเกษตรกร ตลอดจนการไหลของข้อมูลข่าวสารที่มาจากหน่วยงาน
ราชการ และปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับอันจะส่งผลต่อการนำไปปฏิบัติของเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลงานวิจัยที่เป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ไปใช้
ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนตามแนวคิดทฤษฎีใหม่
และเพื่อให้เกษตรกรไทยอยู่ได้ตามแนว
พระราชดำริ " เศรษฐกิจพอเพียง " ได้อย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่
โดย
ศึกษาเฉพาะสื่อบุคคล สื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ และศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเกษตรทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติของเกษตร
อันได้แก่ ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ปัจจัยด้านสภาพภูมิศาสตร์และผลผลิตในท้องถิ่น
ปัจจัยด้านองค์กรที่ให้การสนับสนุนและปัจจัย
ด้านวัฒนธรรม โดยศึกษาว่าปัจจัยด้านใดส่งผลต่อการยอมรับเกษตรทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติอย่างไร
บ้าง
พื้นที่และเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ
กลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่ของศูนย์การพัฒนาห้วยทราย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี, และกลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่ในเครือข่ายศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณ
สังวรารามฯ จ.ชลบุรี โดยใช้เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ วิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ
การสังเกต กระบวนการกลุ่ม
การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์ประกอบแบบสอบถาม และผลขอการศึกษาวิจัยพบว่า
- กระบวนการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นจำเป็นต้องศึกษาตัวแปร
ด้านผู้รับสาร สารและสื่อไปพร้อม ๆกัน
โดยสื่อที่มีบทบาทในการสื่อสารเพื่อการแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรมากที่สุดคือสื่อบุคคล
แต่สิ่งที่พึง
ต้องระวังในการใช้สื่อบุคลในที่นี้ก็คือการนำสารไปยังเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก
จำเป็นต้องตระหนักถึงการรับรู้
การตีความและความสามารถในการเข้าใจได้ของเกษตรกรด้วย ในขณะเดียวกันต้องมีการควบคุมเนื้อหาในสารที่ส่งไป
ให้มีคุณภาพ ที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำและสามารถทำซ้ำได้ในทุกที่ ทุกบุคคล
และทุกเวลาโดยไม่คลาดเคลื่อน เพื่อผลที่
ออกมาจะได้ไม่คลาดเคลื่อนหรือเกิดความเข้าใจผิดจากการสื่อความหมายของสื่อบุคคลนั้นๆ
ซึ่งในลักษณะเช่นนั้นจำเป็น
ต้องให้ความสำคัญต่อการศึกษาบทบาทของสื่อบุคคลเหล่านี้ และการสร้างสื่อผสมกับสื่อบุคคลขึ้นมาประกอบเพื่อให้การสื่อ
สารโดยผ่านสื่อบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สื่อมวลชนที่เกษตรใช้เพื่อการเปิดรับข่าวสารทั่วไปและมากที่สุดคือโทรทัศน์
และในการแสวงหาข่าวสารเกษตรทฤษฎี
ใหม่เกษตรกรเฃแสวงหาจากสื่อบุคคลมากที่สุดอันได้แก่เกษตรตำบลและเจ้าหน้าที่ศูนย์
เพื่อพิจารณาแล้วการพัฒนาสื่อ
บุคคลให้มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดแนวคิดทฤษฎีใหม่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งเพราะจะส่งผลกระทบต่อความรู้ความเข้าใจ
ของเกษตกรตามมา
- กระบวนการของการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเกษ๖ณทฤษฎีใหม่ฯในครั้งนี้มีหลายขั้นตอนและมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก
จำเป็น
ต้องมีการประสานงานและกำหนด ยุทธศาสตร์การสื่อสารที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
มีเป้าหมาย เนื้อหา และการดำเนิน
การทีต่อเนื่องและมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ชัดเจน และรวมไปถึงกิจกรรมและการกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงานสำหรับเจ้า
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารไปถึงเกษตรกรโดยตรง เพื่อผลของการสื่อสารที่เกิดขึ้นจะได้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- "ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับแนวคิดทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติ"
ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของโครงการที่เกี่ยวข้องจาก
หน่วยงานหลักภาครัฐด้านการเกษตรและการปกครองท้องถิ่นได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการโดยไม่มี
หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทำให้ได้เกษตรที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ และไม่มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยด้าน
ปัจเจกบุคคล พบว่าสื่อที่มีบทบาทสำคัญคือสื่อบุคคล และการเผยแพร่แนวคิดทฤษฎีใหม่ต้องใช้เวลาอย่างต่อเนื่องและ
เพียงพอในการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกษตรปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิถีชีวิตแบบเดิมให้ได้
ปัจจัยด้านสภาพ
ภูมิศาสตร์และผลผลิตในท้องถิ่น พบว่าปัญหาใหญ่ คือ ปัญหาเรื่องสภาพดินไม่มีแร่ธาตุ
แห้ง ปัญหาเรื่องน้ำเค็ม หรือการ
ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ปัญหาการทำลายธรรมชาติโดยการใช้ปุ๋ยเคมีแทนการใชข้ปุ๋ยชีวภาพที่ต้นทุนต่ำและรักษา
สภาวะแวดล้อมได้ และปัจจัยด้านวัฒนธรรมทางการเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ล้วนแต่ผลกกระทบต่อการนำแนวคิด
ทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติทั้งสิ้น
|