หลักสูตรการสอนดนตรีสากลโดยใช้วิธีการสอนตามแบบของโคไดและออร์ฟ
ในระดับประถมศึกษา

A Music Curriculum of Western Music Teaching
Utilizing Kodaly's and Orff's Methods in Elementary Education

................................................................................................................................................
ธวัชชัย นาควงษ์1 สุรางค์ หิรัญศรี2 ทัศไนย แผ้วสกุล2 บุญเชิด พิณพาทย์2
วิญญู ทรัพยะประภา2 และ สุธาทิพ นันทพิพัฒน์2
1ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


        การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อ
ประเมินผลว่าหลังจากที่นักเรียนได้เรียนดนตรีด้วยวิธี
การสอนของโคไดและออร์ฟตั้งแต่ชั้น ป.๑ จนจบชั้น ป.๔
ในปีการศึกษา ๒๕๓๖ แล้วนักเรียนมีความสามารถใน
การอ่านโน้ตและเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ได้ถึงขั้นเป็นที่ยอม
รับของผู้ทรงคุณวุฒิทางการสอนดนตรีหรือไม่ การประเมิน
ผลทำได้โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการสอนดนตรีสากล
จากสถาบันต่างๆ ๆ มาร่วมประเมินผลด้วยการแสดงความ
คิดเห็นอย่างอิสระโดยเปิดเผยชื่อ ๒) เพื่อประเมินผลความ
พอใจของผู้ปกครองของนักเรียนที่จบชั้น ป.๔ ในปีการ
ศึกษา ๒๕๓๖ ว่าพึงพอใจหลักสูตรการสอนดนตรีตามแบบ
ของโคไดและออร์ฟที่ทางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ได้จัดขึ้นเพียงไร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบ
ถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรของผู้ปกครองของ
นักเรียนชั้น ป.๔ จำนวน ๒๔๔ คน ผู้ปกครองส่งแบบสอบ
ถามที่สมบูรณ์กลับมา ๑๗๓ ชุด คิดเป็น ๗๐.๙๐ % และ ๓)
เพื่อสร้างหลักสูตรตัวอย่างในการสอนการอ่านโน้ตสากลใน
ชั้นประถมศึกษา (ป.๑-ป.๖) โดยใช้วิธีของโคไดและออร์ฟ
ซึ่งทำได้โดยการทำบันทึกการสอนควบคู่ไปกับการถ่ายทำ
วีดิทัศน์การสอนรายคาบทุกคาบการสอนตั้งแต่ชั้น ป.๑-ป.๖
      ผลการวิจัยจากการประเมินผลความคิดเห็นของผู้
ทรงคุณวุฒิสรุปได้ว่า นักเรียนที่จบชั้น ป.๔ ได้รับการ
ฝึกฝนมาดี อ่านโน้ตคล่องยกเว้นโน้ตตัว ฟา กับตัว ที
 

ที่ยังมีเสียงเพี้ยน นักเรียนแม่นยำในเรื่องจังหวะและ
ทฤษฎี และเป่าขลุ่ยตามตัวโน้ตที่เพิ่งเรียนได้ทันทีและ
มีประสิทธิภาพ เมื่อนักเรียนจบชั้น ป.๖ ในปีการศึกษา
๒๕๓๘ สามารถอ่านโน้ต เป่าขลุ่ย และร้องเพลงประสาน
เสียงในคีย์ C, F, G, D, และ Bb
     จากการประเมินผลความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ของนักเรียนชั้น ป.๔ ในปีการศึกษา ๒๕๓๖ ด้วยการ
เปรียบเทียบตัวเลขแสดงจำนวนร้อยละแสดงให้เห็น
ว่าจำนวนของผู้ปกครองที่พึงพอใจต่อหลักสูตรวิชา
ดนตรีมีมากกว่าจำนวนของผู้ปกครองที่รู้สึกพอใจพอ
สมควร หรือไม่พอใจ อย่างเห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่า
หลักสูตรการสอนวิชาดนตรีสากลตามแบบของโคได
และออร์ฟนี้เป็นที่พอใจของผู้ปกครองของนักเรียน
สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชั้น ป.๔
      ผลของการสร้างหลักสูตรการสอนดนตรีสากลตาม
แบบของโคไดและออร์ฟได้บันทึกการสอนรายคาบทุก
คาบตั้งแต่ชั้น ป.๑-ป.๖ จำนวน ๖ เล่มรวมทั้งหนังสือ
โครงการสอนระยะยาวและหนังสือแบบฝึกหัดขลุ่ย
รีคอร์เดอร์อีกอย่างละ ๑ เล่ม และได้วีดิทัศน์การสอน
ดนตรีรายคาบทุกคาบตั้งแต่ชั้น ป.๑-ป.๖ จำนวน ๓๘
ม้วนพร้อมที่จะใช้เผยแพร่เป็นตัวอย่างสำหรับครู
ดนตรีจะนำไปปรับใช้ได้ ซึ่ง ณ เวลานี้ ได้มีผู้นำไป
ใช้แ
ล้วเป็นจำนวนมากพอสมควร