![]() |
การทดลองวิทยาการเข้ารหัสลับเชิงควอนตัมโดยเกณฑ์วิธี
BB84
Experimental Quantum Cryptography Based on the BB84 Protocol ................................................................................................................................................ สุรศักดิ์ เชียงกา สรายุธ เดชะปัญญา และ พิทักษ์ พานทอง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
วิทยาการเข้ารหัสลับ
(cryptography) เป็นการศึกษา เกี่ยวกับเทคนิคและการประยุกต์ต่างๆ ในการส่งข้อมูลผ่าน ช่องสื่อสารทั่วไปเพื่อทำให้ผู้ดักฟังไม่สามารถเข้าใจข้อมูลนั้น ได้ วิธีการที่นิยมใช้คือการเข้ารหัสข้อมูลด้วยรหัสลับ (key) ดังนั้นความปลอดภัยของข้อมูลจึงขึ้นอยู่กับความปลอดภัยของ รหัสลับ รหัสลับของระบบวิทยาการเข้ารหัสลับที่ใช้กันอยู่ใน ปัจจุบันสร้างขึ้นมาจากความซับซ้อนของปัญหาทางคณิต- ศาสตร์และไม่สามารถพิสูจน์ถึงความปลอดภัยของรหัสลับ |
ที่สร้างขึ้น
โดยการทำลายรหัสลับจะขึ้นอยู่กับความเร็วของ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการหาผลเฉลยจึงมีความเสี่ยงสูงเนื่อง จากแนวโน้มการพัฒนาความเร็วของคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งตรงกันข้ามกับวิทยาการ เข้ารหัสลับเชิงควอนตัมที่ความปลอดภัยของระบบรับประกัน ไว้ด้วยกฎต่างๆทางควอนตัมฟิสิกส์และวิธีการเข้ารหัสแบบ เวอร์แนม (Virnam cipher) ซึ่งเป็นวิธีการเดียวที่ได้รับการ พิสูจน์ว่ามีความปลอดภัยและระบบสามารถตรวจจับผู้ดักฟัง ข้อมูลได้อย่างแน่นอน |
![]() รูปที่ 1 แผนผังชุดทดลองวิทยาการเข้ารหัสลับเชิงควอนตัมโดยเกณฑ์วิธี BB84 |
ภาคส่ง(Alice)กำเนิดโฟตอนเดี่ยวด้วยเลเซอร์ไดโอด (LD) ที่กำหนดสถานะโพลาไรส์ของโฟตอนเดี่ยว ตามเกณฑ์วิธีBB84 ด้วยกระจกแยกลำโฟตอนชนิดโพลาไรส์ (PBS) , แผ่นหน่วงครึ่งคลื่น (QW-plate) และรวมลำโฟตอนด้วยกระจกแยกลำโฟตอน (BS) ส่งผ่านอากาศไปยังภาครับ(Bob)ที่ประกอบด้วยทัศนอุปกรณ์ เช่นเดียวกับภาคส่งเพื่อวิเคราะห์สถานะโพลาไรส์ของโฟตอนเดี่ยวและตรวจจับด้วยอะวัลลันซ์โฟโตไดโอด (APD) และจะเข้ารหัสเป็นเลขบิตฐานสอง (key) โดยตรวจสอบผู้ดักฟังข้อมูล (eavesdropper) ด้วยคอมพิวเตอร์ (PC) ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต |
ในงานวิจัยนี้เป็นการทดลองของระบบต้นแบบที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์วิธี
BB84 ซึ่งประกอบด้วยภาคส่งและ ภาครับ (รูปที่1) โดยภาคส่งประกอบด้วยเลเซอร์ไดโอดจำนวน 4 ตัว ที่กำหนดให้ทำงานแบบพัลส์ ความถี่ 1 MHz โดยมีจำนวนโฟตอนเฉลี่ยประมาณ 0.05 โฟตอนต่อพัลส์ สถานะโพลาไรส์ของโฟตอนเดี่ยวสร้างได้จากชุด ทัศนอุปกรณ์ชนิดพาสซีพ ภาครับประกอบด้วยอะวัลลันซ์โฟโตไดโอดจำนวน 4 ตัวและชุดทัศนอุปกรณ์ชนิด พาสซีพเช่นเดียวกับภาคส่งเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานะโพลาไรส์ของโฟตอน |
![]() รูปที่ 2 แสดงการวิเคราะห์สถานะโพลาไรซ์ของภาคส่งด้วย APD (a) สถานะ| H>และ | v>(b) สถานะ | R>และ | L> |
จากผลการทดลอง(รูปที่2)
สามารถวัดค่าสภาพมองเห็นได้ (visibility) ของสถานะโพลาไรซ์ของโฟตอนเดี่ยวแต่ละสถานะ ได้ดังนี้ VH=0.99, VV=0.99, VR=0.97, และ VL=0.97 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสามารถที่จะสร้างรหัสลับด้วยระบบต้นแบบนี้ได้ |