มหัศจรรย์สมุนไพรไทย
Amazing Thai Medicinal Plants
................................................................................................................................................
งามผ่อง คงคาทิพย์ บุญส่ง คงคาทิพย์ จักร แสงมา สีดา พลนาคู อรุณรัตน์ สัณฐิติกวินสกุล จาณียา ขันชะลี
คงเดช สวาทพันธุ์ สุวรรณา จันทนา ปกรณ์ วรรธนะอมร และ เอมอร ทองเป็นใหญ่

หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและ เคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (NPOS) ภาควิชาเคมี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์ จุลินทรีย์และแร่ธาตุ
ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้ปัจจุบันกระแสการ
กลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของประชาชนในซีกโลก
ตะวันตกมีมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความนิยมและ
ทัศนคติต่อสมุนไพรไทยของคนไทยก็มีมากขึ้น
เนื่องจากสมุนไพรมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน
โดยสมุนไพรสามารถใช้เป็นยาช่วยรักษาบรรเทาอาการ
หรือเป็นอาหารเสริมในการป้องกัน การเกิดโรคต่าง ๆ ได้

       หน่วยปฏิบัติการวิจัยของเราได้เห็นคุณค่าของสมุนไพร
ไทยเป็นอย่างยิ่ง และมีความหวังว่าสมุนไพรไทยจะนำความ
มหัศจรรย์มาให้กับประเทศของเรา ดังนั้น การวิจัยที่หน่วย
ปฏิบัติการทำอยู่ คือ ทำการสกัด การแยกสารออกฤทธิ์ ทดสอบ
การออกฤทธิ์และสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ พร้อมทั้งทำการพัฒนา
  โครงสร้างของสารให้ออกฤทธิ์ดีขึ้น โดยการศึกษาทางด้าน
คอมพิวเตอร์ และ นำมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทาง
ด้านการที่จะนำไปใช้เป็นยารักษาโรคได้ หรือได้สารออกฤทธิ์
ที่ใช้เป็นสารสำคัญในการควบคุมสมุนไพรชนิดนั้น ๆ

        สมุนไพรที่นำมาทำวิจัย จะเป็นสมุนไพรที่แพทย์โบราณ
นิยมใช้รักษาโรคต่าง ๆ ที่พบบ่อยในเมืองไทย ได้แก่ โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งและโรคเอดส์ นอกจาก
นั้นหน่วยปฏิบัติการวิจัยของเรายังทำวิจัยสมุนไพรที่นำไปใช้เป็น
ส่วนประกอบของเครื่องสำอางและสมุนไพรที่ใช้ควบคุมแมลงโดย
ร่วมกับสถาบันค้นคว้าและผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
เกษตร (KAPI)

1. บอระเพ็ด (Tinospora crispa ) ; วงศ์ : Menispermaceae
ลักษณะ :
เป็นไม้เถา เปลือกหุ้มเถา เป็นตะปุ่มตะป่ำตลอดเถา ใบกลมมนสีเขียว ปลายใบแหลม ฐานใบ คล้ายรูปหัวใจ
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไป
สรรพคุณ : ยาบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือดและลดความดันโลหิตสูง

งานวิจัยที่ทำ : พบว่าสารสกัดหยาบด้วยคลอโรฟอร์มและเอทานอลออกฤทธิ์เพิ่มแรงบีบตัวกล้ามเนื้อหัวใจ
แต่ไม่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และได้พบว่าสารบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์เป็นพวกอัลคาลอยด์ ขณะเดียวกัน พบว่าสารสกัด
เอทานอลออกฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ เมื่อสกัดบอระเพ็ดด้วยน้ำหรือเอทานอล/น้ำ พบว่า ออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้
ขณะนี้กำลังแยกสารออกฤทธิ์ให้บริสุทธิ์ เพื่อใช้ควบคุมคุณภาพของบอระเพ็ดแต่ละแหล่ง ในการใช้เป็นยาเสริมรักษาโรค
เบาหวานได

2. ต้นเบาหวาน (Aerva lanata (L.) Juss.ex Schut) ; วงศ์ : Amaranthaceae
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไป พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย
สรรพคุณ : ลดน้ำตาลในเลือด

งานวิจัยที่ทำ : ทำการสกัดและแยกสารจากใบรวมทั้งต้นของเบาหวานเพื่อหาสารออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
และได้พบสารบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเป็นอนุพันธ์ของยูเรีย

3. สันโศก (Clausena excavata) ; วงศ์ :Rutaceae
ลักษณะ :
เป็นพืชไม้ยืนต้น
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไป
สรรพคุณ : แก้พิษงู รักษาโรควัณโรค โรคมาเลเรีย

งานวิจัยที่ทำ : ชาวบ้านจะนำส่วนของรากและเหง้าของต้นสันโศกมาแช่เหล้าขาว เพื่อทำเป็นยาดองเหล้าและ
นำไปดื่มเพื่อรักษาผู่ป่วยโรคเอดส์ในระยะแรก หรือนำส่วนของรากและเหง้าบดผสมกับแอลกอฮอล์เล็กน้อยปิดตรงบริเวณ
ที่ถูกงูกัดเพื่อแก้พิษงู
 
             จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดเอทานอลออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาเลเรีย ในขณะที่สารสกัดคลอโรฟอร์มออกฤทธิ์ยับยั้ง
เชื้อวัณโรค สำหรับสารบริสุทธิ์ที่แยกออกมาได้จากสารสกัดหยาบคลอโรฟอร์มและเอทานอลจากส่วนของเหง้าและราก ออก
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรค เชื้อราและเชื้อเอชไอวี-1

4. ย่านพาโหม หรือ ตดหมูตดหมา หรือ กระพังโหม (Paederia foetida Linn.) ; วงศ์ :Rubiaceae
ลักษณะ :
เป็นไม้เถาขนาดเล็ก ใบเดี่ยว รูปหอกแคบเรียวเล็ก ปลายแหลม มีกลิ่นเหม็นมาก เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไป
สรรพคุณ : รักษาโรคเริม โรคงูสวัด

งานวิจัยที่ทำ : พบว่าสารสกัดออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคเริมและโรคงูสวัด ขณะนี้กำลังแยกสารออก
ฤทธิ์ให้บริสุทธิ์ เพื่อใช้ควบคุมคุณภาพของย่านพาโหมในการนำไปใช้

5. พลู (Piper betle Linn.) ; วงศ์ : Piperaceae
ลักษณะ :
พลูเป็นไม้เลื้อย ทุกส่วนมีกลิ่นหอม
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไป
สรรพคุณ : ใช้ทาโรคหนอง ฝี แก้อักเสบ กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ

งานวิจัยที่ทำ : สารสกัดจากใบพลู ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย จึงได้มีการนำเอาสารสกัดจากใบ
พลูมาพัฒนาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง งานวิจัยที่ทำอยู่ คือ การสกัดและแยกสารที่ยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียให้บริสุทธิ์
เพื่อใช้เป็นสารเอกลักษณ์สำคัญในการควบคุมคุณภาพของสารสกัดจากใบพลู โดยการนำสารสกัดพลูที่ควบคุมคุณภาพ
ไปเป็นส่วนผสมของสบู่แข็งและสบู่เหลว เพื่อให้ได้สบู่ที่กันเชื้อราและแบคทีเรียได้

6. เทียนกิ่ง (Lawsonia inermis Linn.) วงศ์ : Lythraceae
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไปตามป่าดิบแล้งและป่าโปร่ง
สรรพคุณ : ใช้เป็นสีย้อม

งานวิจัยที่ทำ : สารสกัดจากใบเทียนกิ่งใช้เป็นสีย้อมได้ สารที่ให้สีย้อมที่สำคัญ คือ lawsone จะมีสีแดงน้ำตาล
ในการติดสีผม ขณะนี้ได้ทำการ formulate สารสกัด เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาย้อมผม, เจล, leave in, แชมพูสระผม และ
conditioner เป็นต้น

สถาบันในประเทศที่มีความร่วมมือกัน
1. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและ
อุตสาหกรรมเกษตร (KAPI)
2. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
3. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6. ฝ่ายพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
7. บริษัท Greenville Company Limited
แหล่งทุนที่ได้รับ
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KIRDI)
2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
3. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (NRCT)
4. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติภายใต้โครงการ Biodiversity Research and Training Program (BRT)



คณะผู้วิจัยของหน่วยปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (NPOS)