![]() |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงเพื่อเพิ่มมูลค่าและการส่งออก
การยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วงดองในท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน Mango Product Development for Value Added and Export Upgrading Local Fermented Green Mango Processing Industry to have Standards ................................................................................................................................................ มณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด1 กาญจนารัตน์ ทวีสุข ชิดชม ฮิรางะ วิภา สุโรจนะเมธากุล สิริพร สธนเสาวภาคย์ รัศมี ศุภศรี และ วินัย ปิติยนต์2 1สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2กองวัตถุมีพิษ กรมวิชาการเกษตร |
มะม่วงดองเป็นผลิตภัณฑ์มะม่วงที่คนไทยรู้จักกันดี ในทุกภาค มีจำหน่ายทั่วไปในรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงดองแช่ อิ่มสีเหลืองสวยที่ให้ความเอร็ดอร่อยในรสชาติและความ กรอบในเนื้อสัมผัสโดยที่ผู้บริโภคไม่เคยทราบข้อมูลการ ใช้สารเจือปนอาหารในปริมาณและชนิดที่ไม่เหมาะสมใน กระบวนการผลิตเพียงเพื่อทำให้มะม่วงดองมีคุณภาพเป็น ที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีอายุการเก็บนาน โดยไม่ได้ คำนึงถึงความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ บริโภค จึงได้ดำเนินการโครงการวิจัยและพัฒนาผลิต ภัณฑ์มะม่วงเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งออก ภายใต้การสนับ- สนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ด้วยวัตถุ ประสงค์เพื่อพัฒนากรรมวิธีการผลิตมะม่วงดองและ พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น เพื่อยืดอายุการ เก็บรักษาและมีความปลอดภัยในการบริโภค การศึกษา วิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทำให้ได้สูตรที่ เหมาะสม และวิธีการดองมะม่วงที่ใช้หลักการปรับสภาพ การดองให้ถูกต้อง ทำให้สามารถเก็บมะม่วงดองไว้ได้ ตลอดปี หลังจากอายุการดองครบ 1 เดือน มะม่วงดองมี ผิวเป็นสีเหลืองตามธรรมชาติ เนื้อแน่นแข็ง จะต้องนำ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก่อนบริโภค เช่น มะม่วงดอง แช่อิ่ม ถ้าทำการผลิตมะม่วงดองแช่อิ่มตามกรรมวิธีที่ ทดลองมา พบว่าผลิตภัณฑ์ปลอดจากสารเจือปนที่ใช้ใน การดอง และใช้วิธีการเก็บถนอมรักษาด้วยการผสม ผสานเทคโนโลยีหลายอย่างร่วมกัน (hurdle technology) ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่า 5 เดือน สำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุถุงเก็บในตู้เย็น ส่วนมะม่วงดอง |
แช่อิ่มที่บรรจุขวดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นานกว่า
8 เดือน ผลงานเรื่องนี้ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่าน สื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ผู้บริโภคทั่วประเทศได้ ทราบ ผู้ผลิตที่มีจิตสำนึกและมีคุณธรรมอาจนำไปใช้ ปรับปรุงวิธีการผลิต ลด/เลิกการใช้สารเจือปนที่มีความ เสี่ยง เพื่อยกระดับคุณภาพชึวิตของคนไทยในการ บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสม ทั้งนี้ ทบวง มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงบประมาณให้ทำโครงการเพื่อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีในเรื่องการยกระดับอุตสาหกรรมการ แปรรูปมะม่วงดองในท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน โดยจัดฝึก อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 127 คน และเจ้าหน้าที่ในภาครัฐที่เกี่ยวข้องรวม 100 คนจากจังหวัด ต่างๆในภาคอิสาน 19 จังหวัด ภาคเหนือ 16 จังหวัด ภาค กลาง 8 จังหวัดและภาคตะวันตก 8 จังหวัด เป็นการถ่าย ทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการแปรรูป การควบคุมคุณภาพ
|
![]() |
และเรื่องสุขลักษณะและการปฏิบัติที่ดีในการผลิตผลิต ภัณฑ์มะม่วงดอง หลังจากการนิเทศติดตามการดำเนินงาน แปรรูปมะม่วงดองของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในทุกภาค พบว่ามีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 8 กลุ่มที่มีศักยภาพในการ ผลิต โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องครัวสเตนเลส เพื่อการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำหรับการควบคุมคุณภาพ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์มะม่วง ดองที่มีคุณภาพเหมาะสมต่อการบริโภคจำหน่ายในเชิง พานิชย์เพิ่มขึ้น โดยการเชื่อมโยงรับซื้อมะม่วงดองใน เครือข่ายที่ใช้สูตรงงานวิจัย ทำให้มีผลิตภัณฑ์มะม่วงดอง แช่อิ่มที่มีคุณภาพกระจายไปสู่ตลาดผู้บริโภคทั่วประเทศ มากขึ้น |
ส่วนผลิตภัณฑ์มะม่วงสุก
ถึงแม้จะมีการผลิตใน |
เพื่อทำผลิตภัณฑ์กึ่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและมีอายุการ เก็บได้เกือบตลอดปีด้วย โดยรักษาคุณภาพวัตถุดิบให้มี การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีน้อยที่สุด และตรวจ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางกายภาพเคมี สารให้กลิ่นรสและจุลินทรีย์ตลอดอายุการเก็บรักษา นอกจากนี้คุณภาพกลิ่นรสในวัตถุดิบซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นรสเป็นที่จูงใจให้ผู้ บริโภคยอมรับ จึงได้มีการศึกษาคุณภาพทางชีวเคมี ของวัตถุดิบ อันเป็นปัจจัยทำให้เกิดการพัฒนาสาร กลิ่นรสในผลไม้โดยเฉพาะได้ศึกษาสารให้กลิ่นรสใน มะม่วงพันธุ์ต่างๆที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูป รวมทั้งคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของมะม่วง ด้วย ทั้งนี้ได้ทดลองผลิตเครื่องดื่มเนคต้ามะม่วงผสม พันธุ์ต่างชนิดด้วยสัดส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่มีคุณภาพดีในด้านสี กลิ่นรสและ เนื้อสัมผัส ผลการศึกษาทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมา ประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและรักษากลิ่นรสของ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าของ วัตถุดิบ และยังเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถนำ ไปใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นในการผลิตเชิงพาณิชย์ |