การผลิตอาหารสัตว์น้ำจากมันสำปะหลัง วัสดุพื้นบ้าน และสมุนไพรกวาวเครือ
Fish Farm Made Feed by Local Material :Tapioca, Silkworm Pupa and White Pueraria
...............................................................................................................................................
อรพินท์ จินตสถาพร
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

         ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หากมีการนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
ที่มีผลผลิตในปริมาณมากมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ
จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ และเพิ่มคุณภาพ
สัตว์น้ำให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทาง
การเกษตรในท้องถิ่น พืชและสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์
น้ำ เช่น มันสำปะหลัง มูลไก่ไข่ ดักแด้ไหม กากถั่วเหลือง เมล็ดทาน
ตะวัน กากน้ำตาล เป็นต้น

 

         มันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกกันมาก และมีราคาถูก ใช้เป็น
แหล่งพลังงานในอาหาร และมีคุณสมบัติเป็นสารเหนียวที่ดี ส่วน
มูลไก่ไข่หาได้ง่าย ใช้เป็นแหล่งโปรตีน โดยมีโปรตีน 12-14 %


        ดักแด้ไหมบ้านเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงไหม ผล
ผลิตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี มีโปรตีน 50- 52 %
ไขมัน 15-30 % และวิตามินบี1 บี2 และวิตามินอี สามารถ
ใช้ทดแทนปลาป่นได้
 

         นอกจากนี้การนำสมุนไพรมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มีความนิยมมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
สมุนไพรที่มีการใช้เช่น เช่น ลูกใต้ใบ หนอนตายยาก สะเดา
ตะไคร้ ฟ้าทะลายโจร ขันทองพยาบาท และกวาวเครือขาว เป็นต้น
 

           การนำกวาวเครือขาวซึ่งมีสาร phytoestrogen ซึ่งสารนี้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และการสร้างกล้ามเนื้อมาใช้ใน
อาหารสัตว์น้ำมุ่งเน้นในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพสัตว์น้ำ เช่น ในปลาสลิดใช้กวาวเครือขาวเพื่อเพิ่มการสร้างไข่
ของปลาเพศเมีย แต่ในปลานิลใช้กวาวเครือขาวเพื่อลดการสร้างไข่ และลดจำนวนลูกของปลา และยังมีผลต่อการเพิ่ม
ขึ้นของเปอร์เซ็นต์เนื้อเห็นได้ว่าวัสดุในท้องถิ่นหลายชนิดสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์น้ำ หรือใช้ใน
การทดแทนวัตถุดิบบางชนิดที่มีราคาแพงในสูตรอาหาร โดยใช้ในระดับที่เหมาะสม

การใช้ดักแด้ไหมบ้านทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลือง
           ปลาป่นนิยมใช้เป็นแหล่งโปรตีนในการผลิตอาหารสัตว์ เนื่อง
จากปลาป่น มีกรดอะมิโนครบถ้วนและมีสัดส่วนที่สมดุล ปลาป่นที่
ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์นี้ส่วนหนึ่งเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่
สำคัญ ซึ่งความต้องการปลาป่นมีมากขึ้นทุกปี ราคาจึงสูงขึ้น ทำให้
การจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยสูงขึ้นตามไปด้วย การใช้ดักแด้ไหมทด
แทนปลาป่นจึงเป็นการลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

 

        สูตรอาหารสำหรับปลาดุกลูกผสมที่ใช้ดักแด้ไหมบ้านทดแทนปลาป่น 25 เปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลาป่น
มีส่วนผสมดังนี้ มันเส้นบด 13 กก. ดักแด้ไหมบ้าน 7 กก. ปลาป่น 18 กก. กากถั่วเหลือง 40 กก. มูลไก่ไข่ 12 กก.
น้ำมันพืช 5 กก. น้ำมันปลา 3 กก. ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 1 กก. ฟรีมิกซ์ 1 กก.

        กากถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบที่นิยมใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนปลาป่น เนื่องจากกากถั่วเหลืองมีกรดอะมิโน
เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ แต่ยังเป็นวัตถุดิบที่มีราคาค่อนข้างสูงและมีการนำเข้าจากต่างประเทศใน
ปริมาณสูงเช่นกัน ทำให้ต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำสูงตามไปด้วย จึงใช้ดักแด้ไหมบ้านทดแทนกากถั่วเหลืองใน
สูตรอาหารสำหรับปลาดุกลูกผสม

        สูตรอาหารปลาดุกลูกผสมใช้ดักแด้ไหมบ้านทดแทนกากถั่วเหลือง 50 %โปรตีนของปลาป่นมีส่วนผสมดังนี้
มันเส้นบด 19 กก. ดักแด้ไหม 17 กก. ปลาป่น 24 กก. กากถั่วเหลือง 20 กก. มูลไก่ไข่ 12 กก. น้ำมันพืช 4 กก.
น้ำมันปลา3 กก. พรีมิกซ์1 กก.


        จากการทดลองใช้อาหารทั้งสองสูตรนี้ในปลาดุกลูกผสม
ที่มีน้ำหนักเริ่มต้น 20 กรัม ที่ความหนาแน่น 65 ตัวต่อน้ำ 1
ลูกบาศก์เมตร ในบ่อซีเมนต์ที่มีน้ำไหลเวียนเล็กน้อย โดย
ใช้น้ำบาดาล เป็นเวลา 3 เดือน ทำให้ปลาเติบโตดีมีน้ำหนัก
เฉลี่ย 280-300 กรัม หรือ 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม อัตราการแลก
เนื้อดี เปอร์เซ็นต์การรอดสูง 90 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนค่าอาหาร
ที่ใช้ในการผลิตปลาดุกลูกผสม 1 กิโลกรัม ประมาณ15 บาท
 

        การใช้ดักแด้ไหมบ้านเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้
เลี้ยงสัตว์น้ำที่จะนำวัสดุพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์การลดจับลูกสัตว์น้ำในอ่าวไทยเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากร
สัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นการลดการนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศและลดต้นทุนการผลิต

  ขั้นตอนการเตรียมดักแด้ไหม       


ขั้นตอนการเตรียมกวาวเครือขาวเพื่อผสมในอาหาร


         สูตรอาหารปลานิลใช้ ข้าวโพด 23 กก. รำละเอียด 20 กก. ไดแคลเซียมฟอสเฟต 1 กก. กากถั่วเหลือง 24 กก.
ปลาป่น 25กก. น้ำมันพืช 2 กก. พรีมิกซ์ 2 กก. ใบ, เถา หรือ หัวกวาวเครือขาว 1 กก. สารเหนียว 3 กก.


 

         ผลจากการทดลองให้อาหารผสมกวาวเครือขาวปลานิลเป็นเวลา 90 วัน พบว่า
อัตราการเจริญเติบโตของปลาที่ได้รับใบ เถา และหัว กวาวเครือขาวมีค่าไม่แตกต่าง
กันทั้งในปลาเพศผู้ และเพศเมีย แต่ในปลาเพศเมียมีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์เนื้อ
ส่วนบริโภคได้มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าใกล้เคียงกับปลาเพศผู้ และจำนวน
ลูกปลาในปลาที่เสริมกวาวเครือขาวมีค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มควบคุมและในปลาเพศ
ผู้พบว่ากวาวเครือขาวมีผลต่อการลดลงของขนาดอวัยวะสืบพันธุ์

         ปลาป่น 25กก. น้ำมันพืช 2 กก. พรีมิกซ์ 2 กก. ใบ, เถา หรือ หัวกวาวเครือขาว
1 กก. สารเหนียว 3 กก.

        ดังนั้นการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารจึงมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตปลานิล และกวาวเครือขาวที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งในส่วนของ
ใบ เถา และหัวกวาวเครือขาว